fbpx

เราคาดหวังอะไรจากการทำทีม แข่งหุ่นยนต์

เราคาดหวังอะไรจากการทำทีม แข่งหุ่นยนต์

ความคาดหวัง จากการทำทีม แข่งหุ่นยนต์ ?

เมื่อไร น้องๆ ถึงจะสามารถเข้าร่วมทำทีม แข่งหุ่นยนต์ ได้

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านถามไถ่ข้อมูลแข่งหุ่นยนต์ กับครูบุ๊งมาตลอด วันนี้เมื่อการเรียนประดิษฐ์หุ่นยนต์ ของน้องๆ ได้ก้าวหน้า มาถึงจุดหนึ่ง คือ ผ่าน Level Foundation และ Imagine มาแล้ว ซึ่งอาจจะกำลังเรียนอยู่ใน Level Raise Thinking หรือ Raise Programming ก็ได้ เด็กๆ จะถูกพิจารณา ความสามารถ และ ศักยภาพความพร้อม ว่าสามารถเข้าร่วม ทำทีม  แข่งหุ่นยนต์ ได้หรือยัง เด็กที่ศักยภาพถึง ครูจะทาบทาม และ ถามความสมัครใจของเด็กว่า อยากเข้าร่วมทีม หรือไม่ เป็นอันดับแรก และ ถ้าหากเด็กพร้อมครูจึงจะถามผู้ปกครองเป็นอันดับต่อไป เพราะ ในการทำทีมแข่งขัน สำหรับสถาบัน Raise Genius School องค์ประกอบทั้งหมดมาจาก 3 ด้านคือ 1 ตัวเด็กเอง (พร้อม อยาก สนใจ) 2 ครู (เห็นว่าน้องพร้อม เห็นว่าน้องอยาก และ น้องสนใจ) 3 ผู้ปกครอง (สนับสนุน และ เข้าใจ จุดมุ่งหมายในการแข่งขัน ของ Raise Genius School)

 

รวมพล แข่งหุ่นยนต์

การแข่งหุ่นยนต์ เป็นจุดหมายของการเรียนประดิษฐ์หุ่นยนต์หรือเปล่า

สำหรับ Raise Genius School การแข่งหุ่นยนต์ ถือเป็นกระบวนการหนึ่ง ในการเรียนการสอน เพราะนอกเหนือจาก การทำหุ่นยนต์ เป็นรายบุคคล ใน Level Foundation และ Imagine แล้ว การสร้างสถานการณ์ เพื่อให้เกิดการฝึก การแบ่งงานกันทำ ให้เกิด ความรับผิดชอบกับส่วนรวม ที่รวมทีมกันอยู่ นับเป็นเป้าหมายหนึ่ง ของการเรียน ที่ Raise Genius School “ ไม่ใช่แค่เนื้อหาวิชาการ ของหุ่นยนต์เท่านั้น ที่ครูสอนให้” “ไม่ใช่แค่การบูรณาการ คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์” “ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ เรื่องกลไกของเครื่องกล” “ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ ในการวางแผนและวางกลยุทธ์ “ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ การออกแบบหุ่นยนต์ เพื่อให้ลุล่วงภารกิจ” “ไม่ใช่แค่การเรียน โปรแกรมมิ่ง” แต่ สิ่งสำคัญที่อยากให้รู้ คือ ให้รู้สภาวะจิตใจทั้งก่อนแข่งและหลังแข่ง (ทั้งเด็กและผู้ปกครองเลยนะคะ) ไม่ว่าจะเป็นการแข่งได้คะแนนมาก หรือ น้อยก็ตาม แพ้หรือชนะก็ตาม   ปรึกษา แข่งหุ่นยนต์ 2   Present แข่งหุ่นยนต์ 3

จริงๆ แล้ว การจัดทีมเข้าร่วม แข่งหุ่นยนต์ ขึ้นมานั้น Raise Genius School ต้องการอะไร

สาเหตุ ที่ครู ทำไมต้องถามเด็ก เป็นอันดับแรกว่า พร้อม หรือ ไม่ เพราะ เราดูลึกเข้าไปถึงจิตใจ ไม่ใช่ดูแค่ความสามารถ เด็กบางคนความสามารถถึง ถ้าจิตใจไม่พร้อม ครูจะสังเกตุ และ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้ง ในบางครั้ง ครูจะพูดคุยแลกเปลี่ยน กับผู้ปกครอง และ ขอความร่วมมือ ในบางอย่าง เพื่อช่วยกระตุ้น หรือ พัฒนาเด็กใน บางหัวข้อ และ ที่ผ่านมา จากการแข่งขัน หลายๆลีก ครูอยากจะขอ ขอบคุณผู้ปกครองอย่างมาก ที่ให้ความร่วมมือ จนเด็กๆ มีพัฒนาการ ที่ดีขึ้นอย่างมาก เมื่อผ่านการแข่งขัน ในแต่ละลีกไป ชื่นใจมากๆ เลยค่ะ  ดังนั้นแล้ว ผลการแข่งขัน ไม่ว่าจะคะแนนมาก หรือ น้อย เป็นแค่ผลพลอยได้ ของพัฒนาการที่ดีขึ้นเท่านั้น  ไม่ได้เป็นตัวชี้วัด เลยว่าการ ได้คะแนนมาก แล้วพัฒนาการดี หรือคะแนนน้อย แล้วพัฒนาการไม่ดี เพราะ ปัจจัยในการได้คะแนน จากการ แข่งหุ่นยนต์ ยังมีสาเหตุด้านอื่นๆ อีกตั้งหลายอย่าง ที่เด็กๆ หรือ แม้กระทั่งครู ไม่สามารถควมคุมให้ไม่เกิดได้ รับรางวัล แข่งขันหุ่นยนต์ 4   ที่1ประเทศไทย แข่งขันหุ่นยนต์ 5

น้องๆที่สนใจ เขาร่วมทำทีม แข่งขันหุ่นยนต์ กับ เรสจีเนียสสคูล สามารถติดตามได้ที่ -> แข่งหุ่นยนต์

ส่วนน้องที่สนใจข่าวคราวการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. ติดตามได้ที่ แข่งขันหุ่นยนต์สพฐ

ขอบคุณคะ

ครูบุ๊ง

 

 

About The Author

num raise
กิจกรรมเด็ก ในช่วงปิดเทอม มีทำอะไรกันบ้างraise lego robot summer course .jpgครูที่น่ารักครูที่น่ารัก เด็กๆชอบเข้าหา