fbpx

ปั้นจั่น มีหลักการ ในการทำงานยังไงนะ

ปั้นจั่น มีหลักการ ในการทำงานยังไงนะ

ปั้นจั่น มีหลักการ ในการทำงานยังไงนะ

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้ก็พบกับ พี่เรสอีกครั้งนะครับ และในวันนี้ พี่เรสก็จะพาน้อง ๆ มารู้จักกับ เครื่องอำนวยความสะดวก อีกอย่างหนึ่ง ที่ขาดไม่ได้ ในการก่อสร้างอาคาร หรือ สะพานสูง ๆ ในยุคนี้เลย   และนั่นก็คือปั้นจั่นครับ

 

ปั้นจั่น มีลักษณะ เป็นอย่างไรนะ

 

ปั้นจั่น 1

 

ของแบบนี้น้อง ๆ เองก็น่าจะเคยเห็นกันไม่น้อยแล้ว แต่น้อง ๆ ได้สังเกตไหมครับว่า เวลา ปั้นจั่น ยกสิ่งของ เขาไม่ใช้การงอส่วนปลายลงไปเกี่ยว เหมือนที่รถตักดินทำเวลาตักดิน แต่กับปล่อยสายยาว ๆ ติดกับตะขอให้ลงไปเกี่ยวสิ่งของแล้วยกขึ้นมาแทนเสียอย่างนั้น มันเป็นเพราะอะไรกันนะ?

คำตอบ ก็คือ เข้าใช้หลักการของ รอก ในการช่วยทดแรงครับ ทำให้ปั้นจั่นผอมๆ บางๆ เหล่านี้ สามารถลาก ยก เคลื่อนย้ายวัตถุหนักๆ ได้แบบสบายๆ โดยไม่ต้องใช้แรงมากครับ และนอกจากนี้ เจ้ารอกนี้ ยังไม่ได้ใช้แค่สำหรับเครื่องจักรใหญ่ๆ นะครับ คนอย่างเราเองก็สามารถใช้ เพื่อทุ่นแรง เช่นกันนะครับ

น้องๆ หลายคนอาจจะสงสัย ว่า เอ๊!!! รอก ที่พี่เรสพูดถึงนั้น มันคืออะไร และเค้าใช้งานกันยังไง พี่เรสก็มี คำตอบมาให้น้อง แบบคร่าวๆนะครับ

ลูกรอก เป็นวิวัฒนาการ มาจาก ลูกล้อ และมีความมุ่งหมาย ที่จะลดความฝืด ในการเปลี่ยนทิศทางของแรง เช่น ลูกรอกบนยอดเสาธง ช่วยเปลี่ยนทิศแรง ที่คนชักเชือกลงให้เป็นแรงฉุดธงขึ้น และลดความเสียดทาน ระหว่างเชือก กับเสาธง การใช้ลูกรอกเพียงลูกเดียว ไม่อาจจะช่วยผ่อนแรงได้ แต่ถ้าใช้ลูกรอกสองลูก ให้ลูกบนเป็นลูกที่ตรึงติด ลูกล่างเคลื่อนที่ได้ ผูกเชือกกับรอกลูกบน แล้วคล้อง กับรอกลูกล่าง เอาเชือกกลับขึ้นไป พาดกับรอกลูกบนอีก ในลักษณะนี้ น้ำหนักถูกแขวนไว้ด้วยเชือกสองเส้น แรงดึงในเชือกแต่ละเส้น จึงเท่ากับครึ่งเดียว ของน้ำหนักที่ยก และเท่ากับแรง ที่ใช้ฉุดยก ดังนั้น ถ้าเพิ่มจำนวนลูกรอก ที่ติดตรึง และที่เคลื่อนที่ได้ ให้เป็นรอกตับสองตับ คือ ตับบนและตับล่าง รอกตับชุดนั้น ก็จะสามารถผ่อนแรงได้มากยิ่งขึ้น อัตราในการผ่อนแรงของรอกตับนั้น ขึ้นกับจำนวนเส้นเชือก ที่พันทบ ระหว่างลูกรอก ทั้งสองตับนั้น เช่น มีเชือกสี่เส้นก็จะผ่อนแรงได้ สี่เท่า แต่แรงพยายาม จะต้องฉุดเชือกเป็นความยาว ถึงสี่เท่าของระยะที่น้ำหนักนั้น ถูกยกขึ้นไป ปั้นจั่น ที่ใช้ตามท่าเรือ หรือสถานที่ก่อสร้าง ก็คือ เครื่องจักรกลแบบง่าย ๆ ซึ่งใช้เครื่องผ่อนแรงแบบลูกรอก รวมกับระบบผ่อนแรงแบบอื่นๆ เข้าไว้ในเครื่องเดียวกัน

รอก คือ เครื่องกลที่ช่วยอำนวยความสะดวก  หรือช่วยผ่อนแรงในการทำงาน แบ่งเป็น 3 ประเภท  คือ

  1. รอกเดี่ยวตายตัว ไม่ผ่อนแรง แต่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน
  2. รอกเดี่ยวเคลื่อนที่ ผ่อนแรงได้  2  เท่า
  3. รอกพวง ผ่อนแรงได้มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนเส้นเชือก ที่คล้องผ่านรอก

ฉนั้น บางคนอาจจะไม่เชื่อว่า เจ้ารอกนี้ มันจะช่วยอะไรได้จริง อย่างที่พี่เรสพูดหรือเปล่า ที่ปั้นจั่นยกของได้ ก็เพราะว่ามันแข็งแรงเฉย ๆ หรือเปล่า และคำถามข้อสงสัยอื่นๆ อีกมากมาย

พี่เรสก็ต้องขอตอบเป็นรูปภาพ และ 1 ประโยคสั้น ๆ ว่า

 

ปั้นจั่น 2

 

“น้อง ๆ มาถูกทางแล้วครับ ที่ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะได้ลองทดลอง”

มาสนุกกับการทดลอง พิสูจน์ คิดค้น และเล่นสนุกไปพร้อม ๆ กันกับเพื่อน ๆ ในห้องเรียนพี่เรสกันเถอะครับ พี่เรสและคุณครูคอยดูแล และพร้อมให้คำแนะนำอยู่เสมอ สำหรับวันนี้ พี่เรสก็ต้องขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ

อ้างอิง

Pic retrieve from https://pixabay.com/p-1188140/?no_redirect

Data Retrieve from http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/2627-%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81+(Pulley)?groupid=451

สนใจติดต่อ

clike -> contactus

 

About The Author

num raise
Alphago and AI ก้าวไปสู่อนาคตกิจกรรมสำหรับครอบครัว ในวันหยุด