อวกาศ พื้นที่ธุรกิจแห่งอนาคต
อวกาศ พื้นที่ธุรกิจแห่งอนาคต
สวัสดีครับ น้องๆทุกคน หลังจากที่พี่เรส ได้ห่างหายไปนาน น้องๆก็คงสงสัย ใช่ไหมครับที่พี่เรสหายไปนั้น พี่เรสไปไหนมา พี่เรสก็ไปหาความรู้ ไปหาสาระดีๆ มาฝากน้องๆกันครับ และสาระในวันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวนอกโลกมาฝากกันครับ เรื่องอะไรตามพี่เรสมาเลยครับ
อวกาศ พื้นที่ธุรกิจแห่งอนาคต
พี่เรสอยากจะขอเกริ่น ก่อนนะครับ นับตั้งแต่ Sputnik 1 ของรัสเซีย “ดาวเทียม” ดวงแรกของโลก ถูกส่งไปนอกอวกาศ ตั้งแต่ ปี 1957 เพื่อเพิ่มขีดจำกัด ในการค้นคว้าเทคโนโลยีทางอวกาศ และนั่นทำให้ทั่วโลก ต่างให้ความสนใจ และเริ่มจัดทำโครงการสำรวจอวกาศของตนเอง
หลังจากที่ดาวเทียมดวงแรก ของโลกถูกส่งออกไป ก็ต้องใช้เวลา ในการค้นคว้าอยู่นานแล้วทีเดียวจึงจะสามารถส่ง Vostok 1 “ยานอวกาศ” ที่บรรทุกมนุษย์ ขึ้นไปได้ในปี เดือนเมษายน 1961 ก่อนจะตามมาติดๆด้วย Mercury redstone 3 ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน จากสหรัฐอเมริกา
ถึงแม้จะเป็นเพียง การโคจรรอบโลก ยังไม่ได้ไปเหยียบ ดาวเคราะห์ดวงใด แต่ข้อมูลที่ได้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้นักวิจัยรู้ว่า การเดินทางออกนอกโลกนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เกินความสามารถอีกต่อไป
จากนั้นจึงเกิดโครงการสำรวจอวกาศ ถึง 152 โครงการในช่วงระหว่าง 1971-1990 และเพิ่มมากขึ้นเป็น 247 โครงการ ในช่วงระหว่าง 1991-2010
ซึ่งเป็นตัวเลข ที่ดูเหมือนจะบ่งบอกแนวโน้ม ได้ใช่ไหมครับ ว่า โลกของเรา กำลังให้ความสนใจ กับเทคโนโลยี ด้านอวกาศมากขึ้นเรื่อย
ในช่วงปี 1974-2011 ตลอดระยะเวลา เกือบ 40 ปี มีดาวเทียม 761 ดวงถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจร
แต่มันเพิ่มขึ้นเป็น 1460 ดวง ในปี2016 ในเวลาเพียง 5 ปีให้หลังเท่านั้น
และเป็นโครงการ ของเอกชนไป 600 ดวง ไม่ว่าจะเป็น ค่ายสัญญาณมือถือ โทรทัศน์ หรือช่องทางการสื่อสารต่าง
ซึ่งหนึ่งในนั้น รวมไปถึง SPACEX โครงการของ Elon musk นักธุรกิจ ผู้มุ่งมั่นในการพัฒนายานอวกาศ ต้นทุนต่ำโดยมีเป้าหมายคือทำให้การเดินทางในอวกาศเป็นไปได้ในงบ 1 แสน ดอลลาร์ จาก ปัจจุบันที่อย่างน้อย จะต้องจ่ายเป็นล้านดอลลาร์
เพราะอะไรทำไม ผู้คนจึงสนใจอวกาศ กันมากมายนัก ?
เพราะอวกาศ มีทั้งองค์ความรู้ลึกลับ ที่น่าสนใจในการสำรวจ
และมีทั้งช่องทางทรัพยากร ที่เป็นไปได้ เช่นพื้นที่การอยู่อาศัย หรือแร่ธาตุต่างๆ
นั่นจึงทำให้มนุษยชาติ เริ่มมองหาความเป็นไปได้ ในการค้นคว้า ใช้ประโยชน์จากอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาล เพื่อมาตอบสนอง แก่ความต้องการของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน นั่นจึงเป็นที่มาของคำถามว่า
เมื่อเป็นแบบนี้ แล้วเราจะหลีกเลี่ยง การใช้ชีวิตโดยไม่เกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีด้านอวกาศได้อย่างไร?
แล้วถ้ามันหลีกเลี่ยงไมได้ เราได้เตรียมพร้อม รับมือกับเทคโนโลยี ที่ได้มาถึงเรียบร้อยแล้วหรือยังครับ?
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
https://www.nasa.gov/multimedia/imagegallery/image_feature_2488.html
https://www.nasa.gov/mission_pages/mercury/missions/freedom7.html
http://historicspacecraft.com/