Project base learning แนวคิดการเรียนรู้ ที่สอดรับกับการใช้ในชีวิตจริง
Project Based Learning (PBL) คือการเรียนรู้ในรู้แบบ การสร้างประสบการณ์ โดยมีเป้าของงานเป็นเป้าหมายหลัก (ฟังๆแล้วเหมือนการทำงานจริงๆเลยนะครับ) โดยมีความเชื่อที่ว่า เป้าหมายมีความไม่นิ่งได้ วิธีการทำงานที่หลากหลาย ลื่นไหล ยืดหยุ่น ตามสถานะการณ์ ตามทรัพยากร และปรับเปลี่ยนได้ และ
การเรียนรู้แบบ Project Based Learning จะเป็นการผสานทุกอย่างที่ตนมี และ ทีมมี ทั้ง ศาสตร์ และ ศิลป์ (Multidisciplinary)โดยเริ่มตั้งแต่ วิเคราะห์โครงงาน หาข้อมูล วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง วิเคราะห์งาน วิเคราะห์ทรัพยากร(เครื่องไม้เครื่องมือ, สถานที่, ความสามารถของทีม และ ความรู้) กำหนด Statement (ข้อกำหนดต่างๆ ณ ขณะนั้น) ตามด้วยการร่างแผนงาน การดำเนินโครงการ การ PIVOT (การปรับตัวอย่างทันท่วงที) ฯลฯ ซึ่งงานทุกอย่างจะวางอยู่บนแกนของเวลา บนความเสี่ยง สภาวะ และแผนสำรอง ฯลฯ
ยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพ ตั้งแต่ โครงงานง่ายๆ จนถึงโครงงานยาก เช่น โครงงานให้เด็กๆ ช่วยกันคิดและ ลงมือสร้าง ความร่มรื่นให้หน้าบ้านของตนอย่างง่าย ด้วยงบประมาณไม่เกิน 2000 บาท ให้เสร็จภายใน 1 อาทิตย์, เด็กๆ จะทำขนมอะไรไปขายในงานปีใหม่ที่โรงเรียน ในอาทิตย์หน้า โดยลงทุนไม่เกิน 1500 บาท และขายได้โดยไม่ขาดทุน!!
โครงงานที่ยากขึ้น เช่น เด็กจะต้องสร้างผลงาน และ ทำแฟ้มผลงานเพื่อเตรียมสอบสัมภาษณ์เข้าชั้นป.ตรี ในคณะที่หวังไว้ ในเสร็จภายใน 3 ปี และ เสร็จก่อนส่งใบสมัคร และ แฟ้มนั้นมีความน่าสนใจ และ เหมาะสมต่อคณะที่จะเข้าเรียน
ทำไมการเรียนรู้แบบนี้ ถึงสำคัญมากขึ้น จากการค้นคว้าของครูหนุ่มเอง หลายองค์กรทั่วโลก เช่น Google เริ่มมีการปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินพนักงานของตน โดยเริ่มมีการนำ
OKR (Objective and Key Results : ประเมินจากการบรรลุตามวัตถุประสงค์โดยรวมเป็นหลัก) มาใช้แทน KPI (Key Performance Index : ที่ระบุอย่างชัดเจน ละเอียด เป็นข้อๆ ถึงการประเมินผลการทำงานของทีมงาน ว่าจะประเมินอะไรบ้าง) ซึ่งตัว OKR จะรากฐานบางส่วนมาจาก PBL ที่เน้นให้พนักงานมีส่วนคิด พิจารณาด้วยว่างานอะไรของตน ที่มีคุณค่าต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของการตั้งหน่วยงาน บรรลุต่อความต้องการของลูกค้า สามารถเปลี่ยนแปลงเนื้องาน,วิธ๊การทำงานได้ หรือถึงขั้นเปลี่ยนเป้าหมายการทำงานได้ ถ้าวัตถุประสงค์ของหน่วยงานและความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไป ซึ่ง OKR จะยืดหยุ่นตามสถานการณ์ กระตุ้นให้ทีมงานเกินการมองรอบทิศ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และยอมรับความจริง ซึ่งแน่นอนว่าในวิธีของ OKR ถ้าสภาพแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนวิธีการทำงานของทีมงานก็จะเปลี่ยนไปด้วยอย่างทันท่วงที
https://www.quora.com/Why-does-Google-go-with-OKRs-instead-of-KPIs-And-does-it-matter
จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ ความสับสน การปรับเปลี่ยน ของสภาพแวดล้อมภายนอก (ซึ่งควบคุมไม่ได้) ที่มีผลกระทบต่อองค์กร ทั้งทางบวกและลบ มีเข้ามาอย่างมาก และมีผลต่อองค์กรต่างๆ อย่างสูง และ อนาคตความปั่นปวนเหล่านี้จะยิ่ง มีมากยิ่งขึ้น การฝึกให้เด็กๆ สามารถดำรงค์ชีวิตแบบ ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม (PBL) ย่อมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กๆ ได้มากกว่า การให้ความรู้ผ่านการเรียนแบบดั่งเดิม (Traditional Classroom Learning) (ซึ่งมีพื้นฐานความเชื่อประมาณว่า รู้มากกว่าทำงานได้มากกว่า และ ลักษณะการทำงานจะเหมือนอย่างที่เรียนมาค่อนข้างแน่ชัด) อย่างแน่นอน
แล้วการเรียนแบบ PBL จะทำให้เด็กขาดความรู้หรือไหม เมื่อเทียบกับการเรียนแบบดั่งเดิม (TCL) ?
ในความคิดของครูหนุ่มแล้ว PBL ให้จำนวนความรู้น้อยกว่าการเรียนแบบ TCL เนื่องจาก PBL เด็กจะต้องนำสมอง เวลา กำลัง ไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ PBL ในโครงงานนั้นๆ ที่ตนสนใจ และใช้เวลาค้นหา เรียนรู้ เพื่อหาความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องในโครงงานนั้นเท่านั้น แต่ความรู้ และ ทักษะ ที่ได้จาก PBL จะเป็นความรู้แบบประยุกต์ใช้โดยมีฐานจากการค้นคว้า การคัดกรองข้อมูล และนำมาตัดสินใจ ให้เหมาะแก่สถานการณ์ โดยผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด ยอมรับได้
https://elearningindustry.com/project-based-learning-better-traditional-classroom
ยกตัวอย่าง สมมุติ เด็กๆ อยากทำโครงการ กระจาย Mask ให้กับ ชุมชนยากไร้ ซึ่งเด็กจะต้องพิจารณาหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น เด็กค้นคว้า และรู้มาว่า มีประชาชนยากไร้ส่วนหนึ่งในชุมชนแออัดซึ่งกระจายอยู่ทั่วกรุงเทพ ยังต้องการ Mask แบบผ้าที่สามารถซักได้ เพื่อให้เกิดการประหยัดไม่ต้องซื้อใหม่ตลอด เด็กๆ จึงวิเคราะห์และคำนวณว่า คำว่าส่วนหนึ่งและคำว่ากระจาย จะเหมาะสมต่อวิธีกระจาย Mask ของตนอย่างไร ซึ่งมีทางเลือกในการกระจาย Mask ที่คิดได้ ดังนี้ คือ
1. ผลิตเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติแล้วไปตั้งวางในชุมชนแออัด เพื่อในคนในชุมชนได้ซื้ออย่างง่าย ซึ่งเหมาะสมด้วยเหตุผล ……
- นำ Mask ไปแจกให้ผู้นำชุมชนไปแจกต่อ ซึ่งเหมาะสมด้วยเหตุผล ……
ซึ่งเด็กต้องตัดสินใจว่า แบบไหนจะดีกว่า และ ลงตัวได้มากกว่ากัน
ซึ่งการจะตัดสินใจ ยังคงต้องการข้อมูล และ ความรู้อีกหลายส่วน ซึ่งเป็นงานที่ท้าทาย ของทีมงานต่อไป
ตัวอย่าง โครงงานเครื่องจ่าย Mask
https://www.facebook.com/watch/?v=613392246260061
ซึ่งโดยส่วนตัวครูหนุ่ม เห็นว่าการเรียนทั้ง 2 แบบ PBL, TCL ต่างมีข้อดี ข้อจำกัด ต่างกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถ เรียนรู้ทั้ง 2 แบบได้เลย
แต่ถ้าทาง ผู้ปกครอง ทราบแนวทางอาชีพ และ บุคลิก ของน้องอย่างแน่ชัดมาก่อนแล้วนั้น ย่อมจะช่วยให้การเน้น วิธีการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้กับเด็กๆ เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้นนะครับ
ถ้าบุคลิกและ อาชีพที่น้องสนใจอยากทำในอนาคต ค่อนข้างต้องการความรู้เฉพาะทางอย่างมาก และ ไม่น่าจะโดน Disrupt (ทดแทนด้วยเทคโนโลยีใหม่) ได้ง่ายนัก ก็เชียร์เป็นการเรียนแบบ TCL น้องจะไปได้ไกล
แต่ถ้า บุคลิกและ อาชีพที่น้องสนใจ ค่อนข้างแน่ชัดว่าต้องการการปรับตัวตลอดเวลา และ มีโอกาศจะโดน Disrupt อย่างมาก ก็เชียร์เป็นการเรียนแบบ PBL นะครับ น้องถึงจะเอาตัวรอด และ ไปได้ไกลได้
ส่วนว่าการเรียนแบบ PBL ในไทยมีที่ไหนกันบ้าง ก็คงต้องรบกวน ผู้ปกครอง google คำว่า โรงเรียนที่สอนแบบ Project Based Learning ดูนะครับ จะได้ข้อมูลที่ Update เหมาะกับยุค Internet every thing ได้เป็นอย่างดีนะครับ
แล้วพบกับบทความ ที่เกี่ยวกับกับ เทคโนโลยี และ การเสริมทักษะ ต่อไปในบทความหน้านะครับ
ครูหนุ่ม
https://www.gettingsmart.com/2017/09/what-parents-need-to-know-about-project-based-learning/