fbpx

COVID19 กับการเติบโตของ หุ่นยนต์บริการ

COVID19 กับการเติบโตของ หุ่นยนต์บริการ

ก่อนยุค COVID19 การเติบโตของหุ่นยนต์บริการ จะเป็นไปในคุณค่าและ ประโยชน์ของหุ่นยนต์บริการ ถ้านวัตกรรม และ เทคโนโลยีช่วยทำให้หุ่นยนต์บริการเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น และ ช่วยงานมนุษย์ได้มากเท่าไร ขนาดตลาด และ ปริมาณการใช้หุ่นยนต์บริการก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว 

ดังผลลัพท์และ การคาดการณ์จากรายงานของ Boston Consulting Group (BCG) ดังรูป

robotics_markets_are_growing_even_faster_than_expected

จากรูปนี้ทาง BCG ได้ UPDATE การคาดการณ์การเติมโตของหุ่นยนต์ใน Segment ต่างๆ ไว้ในปี 2017 (การคาดการณ์แต่เดิมได้ทำไว้ตั้งแต่ปี 2014) โดยแต่เดิมคาดการณ์ว่าในปี 2025 ขนาดตลาดของหุ่นยนต์โดยรวมจะเป็น 67 พันล้าน Dollar แต่ในขณะที่ Update ข้อมูลนี้ (2017) ปรากฏว่า ขนาดตลาดของหุ่นยนต์โดยรวมได้แชงขึ้นไปที่ 87 พันล้าน Dollar ไปเสียแล้ว!!
โดยหุ่นยนต์ บริการ (Consumer Robot) เป็นพระเอกที่ช่วยให้ตลาดขยายตัวอย่างก้าวกระโดด

https://www.globenewswire.com/news-release/2017/06/21/1026967/0/en/Global-Spending-on-Robots-Projected-to-Hit-87-Billion-by-2025.html

และเมื่อถึงยุค COVID จากการสัมภาษณ์ และ หน้าข่าวต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงทิศทางการพุ่งขึ้นอย่างมาก ของการนำหุ่นยนต์บริการมาใช้แพร่หลายมากขึ้น (แม้ยังไม่ได้ทำการสำรวจเชิงตัวเลขอย่างชัดเจนก็ตาม)

Postf_Covid19_robot_will_increase

จากเหตุผลเรื่อง อนามัย และ Social Distance เป็นเหตุให้ทั้งฝ่าย Supply สินค้าและบริการ ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมากขึ้นในโรงงาน,โรงพยาบาล ฯลฯ เพื่อลดโอกาสในการปนเปื้อนเชื่อโรค COVID19 เข้ามาในส่วนงาน และฝ่ายผู้บริโภค (Consumer) สินค้าและบริการพร้อมใจกันปรับตัว ยอมที่จะเรียนรู้เพื่อใช้บริการกับ หุ่นยนต์, ระบบอัตโนมัติ รวมถึง Digital Platform ต่างๆ มากยิ่งขึ้น 

https://www.thailandindustrialfair.com/en/after-the-covid-19-crisis-robots-will-replace-more-human-labor/

เช่น

หุ่นยนต์ “มดบริรักษ์” ซึ่งช่วยตรวจวัดไข้ ลดการสัมผัสผู้ป่วย

หุ่นยนต์ “มดบริรักษ์” ซึ่งช่วยตรวจวัดไข้ ลดการสัมผัสผู้ป่วย ใช้เพื่อการสื่อสารกับผู้ป่วย จัดยา และบริการอาหารแก่ผู้ป่วย COVID-19 โดยทาง สถาบันวิทยาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยบพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ส่งมอบ หุ่นยนต์ “มดบริรักษ์”  ให้กับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งชุดระบบหุ่นยนต์ช่วยบุคลากรทางการแพทย์นี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามว่า “มดบริรักษ์” อีกด้วย

https://med.mahidol.ac.th/th/news/events/07may2020-1605

มาดูของต่างประเทศกันบ้าง จึน ผุด ‘ศูนย์อาหารหุ่นยนต์’ แห่งแรกของโลก ลดสัมผัสยุคโควิท
ศูนย์อาหารแห่งนี้ เปิดให้บริการบนพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร มีหุ่นยนต์มากกว่า 20 ตัว ซึ่งจะรับหน้าที่เตรียมอาหาร และ ปรุงอาหาร สามารถให้บริการลูกค้าได้เกือบ 600 คนในครั้งเดียว รวมทั้งสามารถเสิร์ฟเมนู ที่มีให้เลือกถึง 200 รายการได้ภายในเวลาเพียง 20 วินาที

Canteen_service_robot

ก่อนหน้านี้ ในวงการธุรกิจร้านอาหาร ได้เริ่มนำหุ่นยนต์ เข้ามาใช้บริการอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะงานรับออเดอร์ ปรุงอาหารและเสิร์ฟอาหาร นับเป็นครั้งแรกที่มนุษย์จำนวนมาก ยอมปรับด้วยเข้ากับแบบแผนการบริการผ่านหุ่นยนต์

https://www.thebangkokinsight.com/383282/

Covid_Spray_robot

ในภาคงานวิจัย พัฒนา ของไทย ก็เห็นเป็นทิศทางเดียวกัน โดย อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา คณะวิศวฯ มก. ออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรค COVID-19 เร็วกว่าคน 2 เท่า ใช้รีโมทควบคุมระยะไกลดูภาพจากมือถือ หมุนกลับตัวรัศมี 50-60 ซม. เหมาะพื้นที่สาธารณะใน-นอกอาคาร หุ่นยนต์ฉีดพ่นฆ่าเชื้อ จะควบคุมผ่านกล้องวงจรปิดไร้สายดูภาพผ่านหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือจอภาพขนาดเล็กได้

http://miu.isit.or.th/News.aspx?id=4604

ยังมี Case ตัวอย่างอีกมาก แต่แนวโน้มทิศทางจะไปในทิศที่จะหุ่นยนต์บริการมากยิ่งขึ้น เพื่อความสะดวก เข้ากับโลก DIGITAL คงยังไม่มีหน่วยงานไหนลงสำรวจ ขนาดตลาดหุ่นยนต์บริการอีกนาน เนื่องจากในยุค COVID19 คงยังไม่สะดวกในการหาตัวเลขภาคสนาม แต่

robot_career

สำหรับผู้ปกครองที่เคยถามครูหนุ่มว่า โอกาสในงานหุ่นยนต์จะเป็นอย่างไรในอนาคต กังวลว่าถ้าลูกจะเอาดีทางด้านนี้จนเป็นอาชีพ แล้วอาชีพนี้จะมีปริมาณงานในไทยมากน้อยอย่างไร ครูหนุ่มอยากให้ทางผู้ปกครอง ติดตามข่าวเกี่ยวกับหุ่นยนต์ในทุกตลาด แล้วจะเห็นว่าตลาดหุ่นยนต์ใหญ่เกินกว่าที่คิด เอาไว้นะครับ และ หลายๆ ศาสตร์ใหม่ๆ ด้าน DIGITAL ที่ทั่วโลกเร่งพัฒนา วิจัยกันอยู่นี้ สามารถนำมาใช้กับหุ่นยนต์ได้เกือบทั้งหมด เช่น AI (ปัญญาประดิษฐ์), AR (Augmented Reality), VR( VIrtual Reality),  5G, Quantum Computing, IOT, 3D Printer ฯลฯ

Cobot

ทีนี้คงจะตอบได้แล้วนะครับ ว่าหุ่นยนต์,ระบบอัตโนมัติ และ DIGTAL น่าสนใจขนาดไหน หลายๆ งานจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ (โดยทั้งที่มนุษย์เต็มใจให้หุ่นยนต์ทำแทน หรือ จะไม่เต็มใจก็แล้วแต่) แต่ปริมาณงานที่มนุษยจะต้องทำงานรวมกับหุ่นยนต์ (Co-bot) งานออกแบบและสร้างหุ่นยนต์, งานควบคุมหุ่นยนต์ นับวันจะมีมากขึ้นนะครับ 

ทีนี้งานในอนาคต ที่ต้องใช้หุ่นยนต์ เรามักจะเดาไม่ค่อยออกว่าอะไรจะมา และถ้าเรารอให้เห็นถึงความชัดเจนของตลาดงานหุ่นยนต์เสียก่อนถึงจะเริ่มศึกษา ถึงวันนั้นเราก็คงศึกษาพัฒนาไม่ทัน และ อาจจะตกขบวนก็ได้นะครับ

แล้วพบกับบทความเกี่ยวกับหุ่นยนต์และการพัฒนาทักษะของครูหนุ่มใหม่นะครับ

ครูหนุ่ม

About The Author

rose innovation
Project base learning แนวคิดการเรียนรู้ ที่สอดรับกับการใช้ในชีวิตจริงต้นไม้แห่งอาชีพในอนาคตนะครับอาชีพแห่งอนาคต