fbpx

แฟรนไชส์คือ อะไร ในความเข้าใจของพี่เรส

แฟรนไชส์คือ อะไร ในความเข้าใจของพี่เรส

แฟรนไชส์คือ อะไร วันนี้พี่เรส จะมีเล่าในภาษาที่เข้าใจง่ายๆ นะครับ มาลองฟังกัน

แฟรนไชส์คือ

นิยามศัพท์กันก่อนนะ

แฟรนไชส์คือ การร่วมมือ ระหว่างผู้ให้สิทธิ(เราเรียกว่า แฟรนไชส์ซอร์) และ ผู้รับสิทธิ (เราเรียกว่า แฟรนไชส์ซี) ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้เลย

เรื่องมันมีอยู่ว่า

แต่ละฝ่าย มีปัญหาของตนเองอยู่ก่อน ที่จะมา ร่วมมือในลักษณะ แฟรนไชส์ ซึ่งกันและกัน แล้วปัญหา คืออะไรละ

  เริ่มจากปัญหาของ แฟรนไชส์ซี ก่อนเลย

เป็นที่รู้กันว่า การทำธุรกิจ เป็นสิ่งที่ไม่ง่าย เริ่มก็ไม่ง่าย ทำก็ไม่ง่าย จะขยายตัว จะทำกำไร จะเลิกทำก็ยาก เต็มไปด้วยคำถาม และ ความเสี่ยง ซึ่งประเด็นพวกนี้ บั่นทอนนักธุรกิจหน้าใหม่มาก แต่ในใจก็ยังอยากทำธุรกิจส่วนตัวอยู่ดีอะ มีใครพอจะช่วยแนะนำได้ไหมนะ

  อีกฝ่าย แฟรนไชส์ซอร์

เนื่องจากทำธุรกิจมานานแหละ จะว่าเชียวชาญก็ว่าได้ อยากจะขยายกิจการออกไป ทั่วทุกอำเภอ ทุกจังหวัด แต่มันดิดอยู่ตรง แล้วใครจะดูแล (ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดนะ ไม่งั้นปัญหาบาน) อาตี๋ อาหมวย ก็มีไม่มากพอที่จะกระจายไปช่วยดูแลทุกหมู่บ้าน ขออาซ้อผลิตเพิ่มก็ไม่อนุมัติ ไหนจะเรื่องไม่ชินไม่รู้จัดท้องถิ่น ไหนจะเรื่องเงินทุน ที่ถ้าต้องเปิดทุกหมู่บ้านแล้ว ต้องใช้เงินมากโขอยู่นะ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องมีบริการพ่วงไปด้วยเนี้ยะ การดูแลอย่างใกล้ชิดก็ยิ่งทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นไปอีก

  เมื่อฟ้าประทานให้ทั้ง 2 มาเจอกัน

ปัญหาของแต่ละฝั่ง ดูเหมือนจะเป็นทางออก ของอีกฝั่งซะเนี้ยกะไร มีมือที่มองไม่เห็น (ภาษาเศรษฐศาสตร์ อย่าไปสนใจมันเลย) ผูกดึงให้ทั้งฝ่ายมาเจอกัน เจ้ามือที่มองไม่เห็น เราเรียกมันอีกอย่างว่า ตลาด ไม่ว่าจะเป็นการออกบูธงานแฟรนไชส์ ฯลฯ เป็นต้น

  แต่ละฝ่ายให้อะไรซึ่งกันและกันบ้าง

โดยฝ่าย แฟรนไชส์ซอร์

จะเป็นผู้ให้ความรู้ที่จำเป็น ข้อมูล ประสบการณ์ เครื่องไม้ เครื่องมือ อุปกรณ์ การอบรม และ ที่ขาดไม่ได้คือ ให้สิทธิการใช้เครื่องหมายการค้า (ต่อไปนี้จะเรียกว่า Logo ละกัน) (ที่แฟรนไชส์ซอร์ใช้เวลา และ งบประมาณมากมายในการสร้างขึ้นมา)

ส่วนแฟรนไชส์ซี คือ

ผู้รับสิทธิ์ในการใช้ Logo ตามสัญญา จะกี่ปีก็ว่าไป สิทธิในการเข้ารับการอบรม การใช้เครื่องไม้ เครื่องมือ เทคนิค วิธีการ ทั้งการขาย การผลิต/บริการ การจัดการ การแก้ปัญหามากมาย ซึ่งถ้าให้แฟรนไชส์ซีไปเริ่มคิดเริ่มทำเองตั้งแต่ต้น ก็เหนื่อย อาจจะล้มเหลว หรือ เลิกกลางคันไปซะก่อน

  แล้วแต่ละฝ่ายจะต้องเสียอะไรกันบ้างละ

แน่นอนไม่มีอะไรได้มาโดยไม่ต้องเสียอะไรเนอะ อย่างแรกที่เห็นได้ชัดๆ เลย คือ

แฟรนไชสซี

จะต้องชำระค่า แฟรนไชส์ฟี (ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิ หรือ ค่าประสบการณ์นั้นแหละ) และ เสียอิสระภาพในการดำเนินงาน ตามวิถีทางของตนแบบ 100% ต้องถูกควบคุม โดยกฏระเบียบ เข้มบ้างอ่อนบ้างจากแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซีจะต้องชำระ ค่าธรรมเนียมประจำงวด (Royalty Fee) ซึ่งมักจะแปรผันตามยอดขาย หรือ Fix Rate ก็แล้วแต่ให้กับแฟรนไชส์ซอร์ (เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบแฟรนไชส์) รวมถึงบางครั้งจะต้องเสียค่า Marketing Fee ให้กับแฟรนไชส์ซอร์อีกด้วย เพื่อให้แฟรนไชส์ซอร์นำไปรวบรวม (ลงขัน) เพื่อทำกิจกรรมทางการตลาดส่วนกลาง (แฟรนไชส์ซอร์ต้องรายงานว่าเอาเงิน Marketing Fee นี้ไปทำอะไรมาบ้าง)

แฟรนไชส์ซอร์

จะต้องให้คำแนะนำ แฟรนไชส์ซี ตั้งแต่ต้น เพื่อให้เขาสามารถ ดำเนินธุรกิจ โดยใช้ Logo ของแฟรนไชส์ซอร์ โดยให้ได้มาตรฐานเดียวกับแฟรนไชส์ซอร์ (ไม่ง่ายเลย) เพื่อคงไว้ซึ่งคุณค่าดั่งเดิมของ Brand ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ จะต้องค่อยกำกับดูแลกิจการของแฟรนไชส์ซีให้ปฏิบัติตามคู่มือ ขั้นตอน ที่ถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดที่พูดไปมีค่าใช้จ่ายแน่นอน ต้องการลงทุนเพิ่ม มีการขยายงาน มีการ Support Franchisee อย่างต่อเนื่อง

  ดูยุ่งยากนะ ทำไหม แฟรนไชสซี ไม่ทำ Brand ของตนเอง เลยล่ะ ไม่ต้องจ่ายค่าแฟรนไชส์ฟี แถมยังไม่ต้องมีใครค่อยมาควบคุมด้วย

เป็นคำกล่าวที่น่าสนใจ แต่ความจริงทำได้ยากมาก เพราะการทำธุรกิจมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก การที่แฟรนไชส์ซอร์ ยืนหยัด และ ขยายงานได้ ย่อมต้องมีเหตุผลของมัน เช่น แฟรนไชส์ซอร์มีความสามารถพิเศษ หรือ ความชำนาญ บางอย่างที่ต้องอาศัยเวลาในการสั่งสม (อาจจะต้องเริ่มสั่งสม ในช่วยที่ตลาดยั่งพึ่งเกิดใหม่ๆ แฟรนไชส์ซีมาเริ่มสั่งสมประสบการณ์ ความสามารถตอนนี้อาจจะไม่ทัน) แฟรนไชส์ซอร์บางรายมีทรัพยากรบางอย่างที่หายาก เช่น มีสิทธิบัตรเฉพาะด้านในมือ, มีกุ๊กชาวจีนที่เก่งกาจช่วยในการคิดสูตรอาหาร ฯลฯ เป็นต้น

สู้เอาสตางค์ไปซื้อแฟรนไชส์ไม่ดีกว่าหรือ เพราะถ้าเราใช้เงินก่อนเดียวกันนี้ มาเริ่มศึกษา ลองผิดลองถูก ลุยทำธุรกิจเอง ก็ใช่ว่าจะพอ หรือ อาจจะต้องเสียค่า วิชา (เรียนรู้, ทดลอง, ลองผิดลองถูก) แพงกว่าค่าแฟรนไชส์ฟีมากๆ เลยก็เป็นไปได้

  เอา Brand ของตนเอง (ที่สร้างมากับมือ หลายปี หมดงบไปก็เยอะ ดูแลอย่างกะไข่ในหิน) ไปให้คนอื่นใช้ ทำไหมแฟรนไชส์ซอร์ไม่ขยายสาขาเองเลยแหละ ทุกอย่างก็รู้ และทำเป็นอยู่แล้วนิ

เป็นคำกล่าวที่นักธุรกิจทั่วไป ย่อมจะคิดได้เองอยู่แล้วโดยง่ายว่า จะไม่ยอมเอาสิ่งที่เป็นธุรกิจของตนไปสอนให้ใครเป็นแน่ ไม่โอเค เอาซะเลย ทำสาขาเองไม่ดีกว่าหรือ แต่ความจริง มันไม่ง่ายขนาดนั้น ยิ่งเป็นธุรกิจที่ต้องดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด และ ต้องการความเชี่ยวชาญในท้องถิ่นแล้วด้วย ย่อมทำงานและขยายงาน จากศูนย์กลาง (แฟรนไชส์ซอร์) ได้ยาก

สู้สร้างมูลค่ารวมให้ Brand เป็นหลัก มุ่งเน้นงานตลาดส่วนกลาง และ งานวิจัยพัฒนาสินค้า และ บริการ ไม่ดีกว่าหรือ ส่วนการจัดการตลาดการจัดการท้องถิ่น การดูแลลูกค้า ให้เป็นหน้าที่ของแฟรนไชส์ซี

555 สุดท้ายมาลงเอยที่ สัญญาแฟรนไชส์

เมื่อแฟรนไชส์ซอร์ และ แฟรนไชส์ซี เห็นถึงความจำเป็นของอีกฝ่าย การแต่งงานทางธุรกิจ จึงเกิดขึ้น ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็ไม่ได้ จึงใช้ สัญญาแฟรนไชส์ เป็นแหวนแห่งการแต่งงานกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน เช่น แฟรนไชส์ซีปล่อยปะละเลยในการดูแลลูกค้า Brand ก็เน่า หรือ แฟรนไชส์ซอร์ไม่สนับสนุน ไม่แนะนำงาน ไม่ทำตลาดส่วนกลาง หรือ ไม่วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการเจ๋งๆ ใหม่ๆ  แฟรนไชส์ซีก็เหนื่อย รอดบ้างไม่รอดบ้าง

เซ็นต์สัญญาเสร็จ แล้วงัยต่อ

เมื่อแต่ละฝ่าย ทราบบทบาท และ ตกลงปลงใจกันแล้ว ไว้ใจซึ่งกันและกัน เชื่อถือกัน ต่อไปก็คือ ทำงาน แต่ละคนทำงาน ในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ ฝ่ายแฟรนไชส์ซีก็วิ่งสู้ฟัดทำงานตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ จำหน่ายสินค้า/บริการ มัดใจลูกค้าอย่างต่อเนื่อง แฟรนไชส์ซอร์ก็แนะนำแฟรนไชส์ซีอย่างเต็มที่ ประสบการณ์ที่มีก็ถ่ายทอดไป อะไรที่เคยเจ็บ เคยพลาด เคยเสียตังค์ ก็เตือนก็แจ้งก็สอนแฟรนไชส์ซี อะไรลูกค้าชอบก็แนะนำกันไป เทคนิค กลยุทธ์ ต่างๆ เป็นเหมือนยา ที่จะช่วยชีวิต และทำให้แฟรนไชส์ซีแข็งแรง ยืนหยัดในบทบาทของตนได้

วิธีคิดที่ผิดพลาดของคนทำแฟรนไชส์บางส่วน

สังคมและ ผู้สนใจแฟรนไชส์ บางส่วนเข้าใจระบบแฟรนไชส์ผิดเพี้ยนไป เช่น

ฝั่งแฟรนไชส์ซี

  • แฟรนไชส์ซีเข้าใจผิดว่า ถ้ามีเงินย่อม สามารถซื้อสิทธิแฟรนไชส์ไหนๆ ก็ได้

ซึ่งความจริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้น แฟรนไชส์ซอร์เขามองมากกว่านั้น เขามองภาพอนาคตว่า ถ้าผู้สนใจแฟรนไชส์มีปัจจัยรวมแบบนี้ จะพอบริหารจัดการสาขาแฟรนไชส์ได้หรือไม่ เนื่องจากปัจจัยในการทำกิจการใดกิจการหนึ่งให้ประสบความสำเร็จได้ มีปัจจัยมากมาย เงินเป็นเพียงแค่ปัจจัย 1 ที่จำเป็นและสำคัญเท่านั้น ซึ่ง แฟรนไชส์ซอร์ ที่ทำกิจการนั้น มานาน ถ้าไม่หลอกตัวเอง, ต้องการเงินค่าแฟรนไชส์ฟี หรือ ต้องการขยาย Brand อย่างเร็วจนเกินไป ย่อมจะพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ของผู้สนใจแฟรนไชส์นั้นๆ เป็นองค์ประกอบหลักด้วย

เช่น

  • ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ทำร้านอาหารแบบนั่งทาน ย่อมพิจารณาประสบการณ์ด้านการบริหารร้าน การบริหารคน ความรักความชอบในกิจการร้านอาหาร และการมีเวลาทุ่มเทให้กับกิจการของผู้สนใจแฟรนไชส์ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบด้วย
  • ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ทำกิจการศูนย์ดูแลเด็ก ย่อมพิจารณาประสบการณ์ด้านการบริหารกิจการที่เน้นบริการ การบริหารคน และความรักความชอบในการดูแลเด็ก  ฯลฯ  อีกด้วย

นี้ยังไม่นับ บุคลิก (การตรงต่อเวลา, วินัย, ความเพียร การรู้จักรับฟัง ฯลฯ) ที่จำเป็นต่อการทำกิจการให้ประสบความสำเร็จ อีกนะครับที่ต้องดูกันด้วย

ฝั่งแฟรนไชส์ซอร์

  • แฟรนไชส์ซอร์เข้าใจผิดว่า การขยายแฟรนไชส์ กับ การขายแฟรนไชส์คือ เรื่องเดียวกัน

แฟรนไชส์คือ กลยุทธ์การขยายธุรกิจ ไม่ใช่การขายวิธีเริ่มร้านบริการ แฟรนไชส์จะต้องผูกพันและมีความร่วมมือกันตลอดระยะเวลาสัญญา เพื่อช่วยกันสร้างประโยชน์ และความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค (ลูกค้า) นั้นเอง

การที่แฟรนไชส์ซอร์ เร่งขายสิทธิแฟรนไชส์ จนย่อหย่อนต่อการควบคุมคุณภาพ ต่อการพัฒนาสินค้าบริการ พัฒนาระบบ การตลาดภาพรวมของผู้บริโภค (ลูกค้า) ร่วมถึงไม่มีเวลาเข้าไปช่วยแฟรนไชส์ซีแก้ปัญหาเฉพาะทำเล ย่อมไม่ถูกต้อง ทำให้ Brand โดยรวมเสียหายไปด้วย

แฟรนไชส์ซอร์ ต้องเสริม ต้องเน้นความเป็น Brand ของตน ความเชื่อ แนวคิดหลักการ ของ Brand ตน ซึ่งจะนำมาซึ่งความแตกต่างที่มีคุณค่าต่อผู้บริโภค (ลูกค้า) ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งประโยชน์โดยรวมของ Brand โดยรวม ซึ่งแฟรนไชส์ซีก็จะได้ประโยชน์นี้ไปด้วย ซึ่งหยั่นยืนและวัฒนาด้วย

ดังนั้น แฟรนไชส์ซอร์ ที่ดี ต้องไม่รีบขยายสิทธิจนเกินไป ต้องคัดผู้สนใจด้วย เพราะอย่าลืมว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ กับ แฟรนไชส์ซีแต่ละราย (คู่สัญญา) เท่านั้น มันยังเกี่ยวข้องกับ แฟรนไชส์ซีรายอื่นๆ และ ผู้บริโภคอีกด้วย

สรุป

สรุป แฟรนไชส์คือ การลดคู่แข่งไปหนึ่งราย และในเวลาเดียวกันก็เพิ่มพันธมิตรอีกหนึ่งราย อาศัยหลักการแบ่งงานกันทำ ใครถนัดอะไรก็ทำส่วนนั้น มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ สร้างความเข้มแข็งให้ Brand แล้ว Brand ที่เข้มแข็งจะพา ลูกค้าใหม่เข้ามาให้แฟรนไชส์ซี และ ช่วยให้แฟรนไชส์ซอร์ขยายแฟรนไชส์ด้วยมูลค่าแฟรนไชส์ฟีที่สูงขึ้น และมีเงินมากพอทีจะปรับปรุงระบบ ต่างๆ ให้เข้มแข็ง ยั่งยืน และส่งถ่ายความเข้มแข็งนี้ให้แฟรนไชส์ซีต่อไป

หากใครมีคำถามด้าน แฟรนไชส์ ถามพี่เรส โดยตรงได้เลยนะครับ ที่ Line : raisegenius

ใครต้องการทำความรู้จักกับ แฟรนไชส์หุ่นยนต์ ของเรสจีเนียสสคูล ไปตาม Link นี้ได้เลยครับ -> แฟรนไชส์การศึกษา

อย่าลืมติดตาม บทความ Style พี่เรสต่อนะครับในบทความต่อไป

พี่เรส

 

 

About The Author

rose innovation
ครูที่น่ารัก เด็กๆชอบเข้าหาครูที่น่ารักกิจกรรมปิดเทอมกิจกรรมปิดเทอม เสริมทักษะ