fbpx

ของเล่นทางเลือก แสนมีประโยชน์

ของเล่นทางเลือก แสนมีประโยชน์

ของเล่นทางเลือก แสนมีประโยชน์

แกร๊กๆ แกร๊กๆ อ๊ะ!! สวัสดีครับน้องๆ แหมมาได้จังหวะ พอดีเลยนะครับเนี่ย เพราะว่าพี่เรส กำลังลองของเล่นใหม่ อยู่พอดีเลยครับ อ้ะแต่ว่า ไม่ใช่เลโก้รุ่นใหม่ หรืออะไรหรอกนะครับ

เพราะคราวนี้ พี่เรสอยากจะลอง เปลี่ยนไปเล่น อย่างอื่นบ้าง แต่ว่าแน่นอนครับ ของเล่นที่พี่เรสเลือกเนี่ย ก็ต้องมีประโยชน์ และช่วยพัฒนาทักษะ ไม่แพ้เลโก้แน่นอน  เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่ามีอะไรบ้าง

 

ของเล่นทางเลือก แสนมีประโยชน์

 

yyy

 

เริ่มต้นมา ก็ของเล่น ที่เป็นใคร ก็คงรู้จักครับ นั่นก็คือ รูบิคนั่นเอง เจ้าของเล่นปริศนา ขนาดพอดีมือ มีความยากง่าย หลายระดับ และมีรูปทรงต่างๆ มากมายให้เลือกเล่น มาพร้อมกับ คุณสมบัติสำคัญคือ การขยับมุมหนึ่ง ของเรา จะส่งผลกระทบให้กับชิ้นส่วน ที่อยู่มุมอื่นๆด้วย อีกทั้งลักษณะ การเล่นก็จะเป็นหยิบ พลิก บิด หมุน ไปมาในมือ ทำให้ช่วยเสริม ด้านมิติสัมพันธ์ ได้เป็นอย่างดี เลยครับ

 

rrr

 

Origami หรือการพับกระดาษ ให้เป็นรูปทรงต่างๆ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ที่ดีในการฝึกฝนสมาธิ มิติสัมพันธ์ แถมไม่ต้องใช้อุปกรณ์ อะไรให้มากมาย เพียงมีกระดาษ และไม้บรรทัด (ซึ่งในหลายๆงาน ไม่จำเป็นต้องใช้) ใครๆก็สามารถ สร้างผลงาน Origami ของตัวเองได้ อย่างไม่ยากเย็น แถมรูปทรง ที่จะทำได้ ก็มีไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับจินตนาการของเรา  และยิ่งในยุคปัจจุบัน ที่อินเทอร์เน็ทแพร่หลาย ทำให้ง่ายขึ้น ที่เราจะหาแบบสวยๆ ของผู้เชี่ยวชาญ ที่อยู่อีกซีกโลก ก่อนจะค่อยๆ ฝึกทำตามแบบ ขั้นตอนต่อขั้นตอนเลยทีเดียวครับ

 

3

 

มากันที่ชิ้นสุดท้าย ตัวต่อสัญชาติรัสเซีย จากเกม Tetrist ที่เคยเป็น ที่นิยมเมื่อสมัยก่อน  ตั้งแต่ยุคที่ เครื่องเล่นเกม ยังต้องใช้ตลับเสียบ (ป่านนี้จะมีน้องๆคนไหน เกิดทันไหมน้อ) วันนี้มันกลับมาอีกครั้ง ในรูปแบบของตัวต่อไม้ 3 มิติ ที่มาพร้อมโจทย์เดิม คือ นำตัวต่อมาเติมให้เต็ม อย่าให้เหลือช่องว่าง

มองเผินๆ ก็เหมือนจะง่ายๆ ไม่ซับซ้อนนะครับ แต่ทว่า ชิ้นส่วนพวกนี้ มีแง่งและส่วนที่ยื่นออกมา แบบต่างๆไม่ซ้ำกัน นั่นทำให้ หากเราวางผิดลำดับ หันผิดด้าน อาจจะทำให้มีช่องว่างเหลือ หรือมีแง่งโผล่ออกมา ทำให้ยัดชิ้นส่วน ที่ต้องการไม่ได้ ต้องแกะมาต่อใหม่กันเกือบหมด เลยทีเดียวเชียว

แต่ว่าในความยากของมัน ก็ยังคงสร้างประโยชน์ ให้ในแง่มิติสัมพันธ์ ได้ดีไม่ใช่น้อย เพราะด้วยความที่ตัวต่อ ถูกออกแบบมาให้หมุน พลิก ทิศทางต่างๆ ที่นอกจากจะต้องพิจารณา ถึงช่องว่างที่มีอยู่ ยังต้อคิดต่อด้วยว่า ถ้าใส่ชิ้นส่วนนี้ไป แล้วชิ้นส่วนที่เหลือ จะต่อตามเข้ามาได้หรือไม่  นับเป็นการเสริมสร้าง ทั้งมิติสัมพันธ์ และการจินตนาการ การใช้ตรรกะ ไปพร้อมๆกันไ ด้เป็นอย่างดี

เป็นอย่างไรบ้างครับ กับตัวอย่าง ของเล่นทางเลือก สำหรับน้องๆ ที่อยากจะลองเล่นของเล่น พัฒนาสมองชิ้นอื่นๆ แบบไม่ต้องเป็นเลโก้บ้าง ในวันนี้ พี่เรสก็เลือกเฉพาะของเล่น ที่มีประโยชน์ ราคาไม่แพง และเล่นซ้ำได้ หลายครั้ง (โดยเฉพาะ Origami ที่ให้น้องๆ สร้างสรรค์ผลงานได้เยอะแยะเลย) แต่สุดท้าย หากน้องๆ ยังไม่สะใจ กับการพับกระดาษ บิดลูกบิด หรือนำตัวต่อมาเรียงกัน  แต่ว่าอยากจะสร้างผลงานที่สามารถขยับได้ วิ่งได้ ทำตามคำสั่งได้ละก็ คำตอบอันดับ 1 ก็คงเป็น Lego Mindstrom นี่หล่ะครับ ที่ตอบโจทย์ทุกอย่าง ที่น้องๆต้องการเลย

สำหรับวันนี้พี่เรสขอตัวลาไปก่อนสวัสดีครับ

 

ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลดีๆจาก

https://www.oddee.com/wp-content/uploads/_media/imgs/articles2/a96712_a465_irregular_iq_cube.jpg

https://i.ytimg.com/vi/pAsNGOvwEC8/maxresdefault.jpg

https://i.pinimg.com/736x/83/d8/28/83d828d2b19928a761d186d5bab59f55.jpg

 

 

สนใจติดต่อ

clike -> contactus

About The Author

num raise
การพยากรณ์อากาศ ทำได้อย่างไรเทคโนโลยี ช่วยเหลือการขนส่ง