fbpx

วิธีลดข้ออ้าง ของเด็กๆ

วิธีลดข้ออ้าง ของเด็กๆ

วิธีลดข้ออ้าง ของเด็กๆ

สวัสดีครับ พบกับพี่เรสกันอีกครั้งนะครับ และวันนี้บทความดีๆที่พี่เรสนำเอามานำเสนอ เป็นบทความที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆคน อาจจะประสบปัญหา ก็คือ เด็กๆไม่ชอบทำการบ้านนั่นเอง และก็มักจะได้ยินคำเหล่านี้ออกจากเด็กๆหลายๆคนว่า

“ขออีกแปปนึง”
“เดี๋ยวค่อยทำได้ไหม”

“ขอดูตอนนี้จบก่อน”

ฯลฯ

คำพูดเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่หลายๆคนคงเคยได้ยินมาไม่มากก็น้อยจากปากคุณลูกทั้งหลาย

โดยเฉพาะเมื่อบอกให้ไปอาบน้ำ ไปทำการบ้าน หรือทำงานบ้านอื่นๆ ข้ออ้างข้อต่อรองสารพัด จะโผล่ขึ้นมาอีกมากมายไม่รู้จบ จนอาจเรียกได้ว่า เป็นปัญหายอดฮิตที่มีติดกันทุกบ้านที่มีเด็ก

 

วิธีลดข้ออ้าง ของเด็กๆ

วันนี้ พี่เรส จึงนำเทคนิคจิตวิทยาดีๆ มาแนะนำในการ “ลดข้ออ้าง” “ลดการต่อเวลา” ของเด็กๆครับผม ส่วนวิธีจะเป็นยังไงเดี๋ยวเรามาดูกันเลยดีกว่าครับ

  1. สำรวจความยากของงาน บางครั้งการที่เด็กๆบ่ายเบี่ยงไม่อยากทำงานเนี่ย อาจจะเกิดจากความยากของงาน ที่ทำให้รู้สึกว่า  ทำไม่ได้ ทำไม่เป็น ทำไปก็ผิด เลยขาดความมั่นใจไม่อยากทำอีก*

โดยวิธีการสำรวจเนี่ย จะไม่ใช่มาจากการประเมิณ หรือการแอบมองไกลๆนะครับ เพราะผู้ใหญ่เนี่ยมองงานของเด็กๆก็ง่ายทุกชิ้นและครับ  ดังนั้นจึงต้องใช้การ ถาม พูดคุย โดยตรงกับน้องๆเลย ว่างานชิ้นนี้เนี่ย จริงๆหนูทำได้ไหม มีตรงไหนไม่เข้าใจ หรือว่ายากเกินไปหรือเปล่า  หากพบว่างานยังยากอยู่ คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลดความกังวลโดยการเข้าไปช่วยเหลือในงานดังกล่าวครับ

  1. สร้างข้อตกลงร่วมกัน บ่อยครั้งที่เด็กๆช่วง 6-12ขวบ จะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง* ทำให้มีอาการต่อต้านการคำสั่งที่(เขามองว่า)ไม่มีเหตุผล จึงมักจะขัดขืนกับคำสั่งดังกล่าว

ดังนั้นวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เขายอมทำตาม ที่เราต้องการได้คือ การตกลงร่วมกัน โดยที่เด็กๆจะต้องเห็นด้วยกับ คำสั่งนั้น เช่น “งั้นให้เล่นถึงเข็มยาวชี้เลข 9 นะ สัญญานะครับว่าจะหยุดเล่นทันที?” เมื่อเขาตกลง คุณพ่อคุณแม่ก็จะแสดงตัวอย่าง ของการรักษาข้อตกลงด้วยการปล่อยให้เล่นอิสระ และเมื่อถึงเวลาจึงเข้ามาเตือน “เอาล่ะถึงเวลาที่เราสัญญากันไว้แล้วนะ เก็บของได้แล้วครับ”  ด้วยวิธีนี้ นอกจากจะลดอาการงอแงแล้ว ยังจะเป็นการฝึกให้ลูกๆ ให้ความสำคัญกับข้อตกลงอีกด้วย

  1. ให้คำชม (หลีกเลี่ยงการให้รางวัล) ในการสร้างแรงจูงใจ**บางครั้งเราก็ต้องให้การเสริมแรง เช่นการพูดชื่นชม ในความพยายาม หรือการ ให้รางวัลเล็กๆน้อยๆเช่น ให้เข้านอนช้าได้ 30 นาที

ซึ่ง หากเป็นไปได้ ควรใช้การชื่นชมอย่างจริงใจมากกว่า เพราะการให้รางวัลมีความเสี่ยงที่จะทำให้ เด็กๆติดรางวัล จนนำไปสู่พฤติกรรมที่ ทำสิ่งต่างๆเพื่อรางวัลและสิ่งตอบแทนเท่านั้น

และนี่ก็คือ 3 เทคนิคง่ายๆที่จะช่วยลดข้ออ้างข้อต่อรองต่างๆได้

หรือ อีกทางเลือกหนึ่ง คือ ก็เลือกการบ้าน ที่เด็กๆจะไม่ต่อรองอย่าง “ออกแบบหุ่นยนต์ในฝัน” ที่จะทั้งสนุก และไม่ยากเกินไป เพราะมันไม่มีแบบตายตัว ใช้ได้ทั้งความรู้ และจินตนาการ และหากเราลองถามดูดีๆถึงแต่ละชิ้นส่วนของผลงานที่เขาวาด เชื่อเลยครับว่า ทุกๆชิ้นส่วนเนี่ย เด็กๆจะต้องมีคำตอบเป็นเหตุเป็นผลให้เราแน่นอน  กลายเป็นว่าวาดรูปเล่นแค่ชิ้นเดียว กลับให้การฝึกฝนทักษะ ความรู้มากมายยิ่งกว่าการบ้านในชั้นเรียนประถมเสียอีก

แต่หากคุณพ่อคุณแม่ เห็นน้องๆเกิดฉายแววให้ความสนใจกับเจ้าหุ่นยนต์ขึ้นมา แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต่อยอดยังไง ซื้อของเล่นหุ่นยนต์ให้ เดี๋ยวก็เบื่อ

พี่เรส ขอแนะนำ คอร์สเรียนพิเศษช่วงปิดเทอม กับ โรงเรียนสอนต่อหุ่นยนต์ เรสจีเนียสสคูล ครับ ที่จะให้น้องๆได้สร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาจริงๆแต่ละครั้งไม่ซ้ำแบบ ไม่มีเบื่อ ภายใต้การดูแลของคุณครูผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำแนะนำ เพื่อให้น้องๆสามารถต่อผลงานของตนเองออกมาได้อย่างสนุกสนาน  หากผู้ปกครองท่านใดสนใจ สามารถติดต่อขอทดลองเรียนฟรีได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่างนี้เลยนะครับ

https://www.facebook.com/RaiseGenius/

 

 

*อ้างอิงจาก ทฤษฎีขั้นพัฒนาการ  https://www.simplypsychology.org/Erik-Erikson.html

**อ้างอิงจาก ทฤษฎีการเสริมแรง จะมีผลให้พฤติกรรมดังกล่าวเกิดบ่อยขึ้น  https://www.simplypsychology.org/operant-conditioning.html

About The Author

num raise
การเตรียมตัว สอบต่างประเทศWorkshopsหุ่นยนต์ แสนสนุก