fbpx

หุ่นยนต์ที่เดินได้ ที่แตกต่างและไม่ธรรมดา

หุ่นยนต์ที่เดินได้ ที่แตกต่างและไม่ธรรมดา

หุ่นยนต์ที่เดินได้  ที่แตกต่างและไม่ธรรมดา

สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน พบกับพี่เรสอีกครั้ง พร้อมกับเรื่องราวน่าสนใจ เช่นเคยนะครับ สำหรับคราวนี้ พี่เรสมีเรื่องเจ๋งๆ มาฝากกันครับ ซึ่งนั่น ก็คือ หุ่นยนต์ที่เดินได้ ครับ!!

 

หุ่นยนต์ที่เดินได้ ตัวนี้แปลกกว่ายังไง

 

แต่ว่า ไม่ใช่เดินพื้นเรียบ เดินขึ้นบันได หรือ เดินพื้นที่ขรุขระ หรอกนะครับ  เพราะพี่เรสเอามาอวด ให้น้องๆ ชมทั้งที ก็ต้องไม่ธรรมดาอยู่แล้ว เพราะนี่คือ หุ่นยนต์เดินบนเส้นลวด ครับ

 

[embedplusvideo height=”300″ width=”400″ editlink=”http://bit.ly/2sl9tUX” standard=”http://www.youtube.com/v/P5j619mdesM?fs=1″ vars=”ytid=P5j619mdesM&width=400&height=300&start=&stop=&rs=w&hd=0&autoplay=0&react=1&chapters=&notes=” id=”ep3759″ /]

 

จะเห็นได้ว่า จากในคลิป หุ่นยนต์สามารถเดินทรงตัว บนเส้นลวดเล็กๆได้ โดยที่ไม่ต้องใช้มือจับ หรือมีอะไรประคองเลย

แต่ว่า เขาทำได้ยังไงกันนะ?

เพราะน้องๆ คนไหนที่เคยต่อ หุ่นยนต์รูปคน หรือหุ่นยนต์ที่เดินด้วยสองขามาก่อน ก็ย่อมเข้าใจดีว่า การที่หุ่นยนต์จะเดินบนสองขาได้เนี่ย ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย แต่นี่ นอกจากเดินสองขายังไม่พอ ยังทรงตัวบนเส้นลวดเล็กๆ อีกด้วย

คำตอบ ของเรื่องนี้ มีอยู่สองอย่างครับ นั่นก็คือ

1 แขน ของหุ่นยนต์ ที่ทำหน้าที่เหมือน เป็นตัวถ่วงน้ำหนัก

น้องๆ จะเห็นได้ว่าในคลิปหุ่นยนต์ทำการปรับแขน อยู่ตลอดเวลา นั่นไม่ใช่การแสดงเลียนแบบมนุษย์เฉยๆ นะครับ แต่ยังทำไป พื่อช่วยให้การทรงตัว เป็นไปได้ดีขึ้น

2 โปรแกรมคำนวน สถานะการทรงตัว

ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญเลย ก็คือ การที่แขนของหุ่นยนต์ จะขยับขึ้นลง รักษาสมดุลย์ได้ ก็จำเป็นจะต้อง อาศัยเจ้าโปรแกรมนี่ล่ะครับ ที่คอยควบคุมสั่งการ ว่าจะให้ยกแขนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็ต้องคำนวน จากองศาของลำตัว ที่เอนไปอีกทีหนึ่ง หากเราไปตั้งค่าว่า ให้ยกแขนขึ้น จนสุดทุกครั้ง ที่เอนไปด้านใด ด้านหนึ่ง ก็คงจะล้มไปในเวลาไม่นาน ใช่ไหมล่ะครับ

จากที่พี่เรสพูดมา น้องๆ ก็อาจจะพอสังเกตได้ว่า 2 อย่าง ที่พี่เรสพูดถึงเนี่ย จริงๆแล้ว มันก็คือ เรื่องของ ฮาร์ดแวร์ กับซอฟต์แวร์ นั่นเอง ซึ่งทั้งสองอย่าง ก็เป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ ของหุ่นยนต์ Lego mindstorm ที่น้องๆ ต่อกับพี่เรส เพราะถึงแม้จะต่อดีแค่ไหน แต่หาก ไม่เขียนโปรแกรมลงไป แม้จะเปิดสวิต แต่ก็ขยับไม่ได้

หรือ ถึงแม้จะเขียนโปรแกรมดีแค่ไหน แต่ถ้าโครงสร้างของหุ่นยนต์น้องๆไม่แข็งแรง เดินไปสองก้าว ชิ้นส่วนหลุดทีนึง เดินอีกที อ้าว ล้มเลย แบบนี้ ก็เล่นไม่สนุกเหมือนกันใช่ไหมล่ะครับ เพราะงั้น ทั้งสองส่วนนี้ จึงเป็นพื้นฐาน สำคัญของหุ่นยนต์ เลยนั่นเอง หากรู้แบบนี้แล้ว น้องคนไหน ที่ถนัดต่อ ก็อย่าลืมลองๆ เขียนโปรแกรม หรือน้องคนไหนที่ถนัดเขียนโปรแกรม ก็อย่าลืมฝึกต่อ นะครับ เพื่อที่จะได้มีผลงาน สนุกๆหลากหลายยิ่งขึ้น ไว้เล่นกับเพื่อนๆ และอวดคุณพ่อคุณแม่ นั่นเองครับ

สนใจติดต่อ

clike -> contactus

 

 

 

About The Author

num raise
กลไกนิรันดร์ คืออะไร ใครพอรู้บ่างlil คืออะไรนะ