fbpx

แกะลูกออกจาก แท็บเล็ต

แกะลูกออกจาก แท็บเล็ต

แกะลูกสุดที่รัก ออกจากแท็บเล็ต?

สวัสดีครับ น้องๆ พบกับ พี่เรส อีกครั้ง วันนี้ ก็อีกเช่นเคย พี่เรส ก็มีเรื่องราวน่ารู้ มาเล่าให้ฟังครับ

แต่ก่อนอื่น ขอถามก่อนเลยว่า น้องๆคนไหนเล่น แท็บเลต บ้างครับ!?

 

โอ้โห  แหม เยอะแยะเลยทีเดียวเชียว พี่เรสเดาได้เลยครับว่า น้องๆสมัยนี้ ล้วนแต่เคย ได้เล่น ได้สัมผัส กับแท็บเลตมาแล้ว ไม่มากก็น้อย ตามประสายุคสมัย ที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป

ซึ่งแท็บเลตนี่ นอกจากเพื่อความเพลิดเพลินแล้ว ก็ยังมีประโยชน์อีกด้วย

หากจะพูดถึงข้อเด่นๆของ แท็บเล็ต เลยก็คือ

ด้านภาษา   สื่อจำนวนไม่น้อย จากแทบเลต เป็นภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะแอพเพื่อการเรียนรุ้ซึ่ง  ในแง่ของภาษา แอพเหล่านี้ สามารถทำให้น้องๆได้เรียนรู้ภาษา ได้อย่างถูกต้อง ถูกสำเนียง ซึ่งอาจจะเรียนรู้ผ่านแอพออกเสียง โดยตรง หรือโดยการรับฟังเรื่องราว เช่นนิทาน ก็ล้วนแต่มีความน่าสนใจ ดึงดูดทั้งนั้น ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ภาษา กลายเป็นเรื่องง่าย

 

ด้านการแก้ปัญหา เกมบนแทบเล็ต บางประเภท มีความน่าสนใจ ความสร้างสรรค์อย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งเกมประเภทนีเรียกว่า puzzle หรือ เกมแก้ปริศนา ที่จะเปิดโอกาสให้น้องๆได้ฝึกทักษะการคิดการแก้ปัญหาต่างๆ

 

 

-ด้านการฝึกเขียนตัวอักษร  ด้วยความที่ว่าแทบเลตสามารถรองรับการสัมผัส นั่นทำให้การลากนิ้วเขียนอักษรต่างๆกลายเป็นเรื่องน่าสนุก ซึ่งการลากนิ้วเขียนตัวอักษรเองก็เป็นพื้นฐานที่ดีอย่างหนึ่งในการพัฒนาทักษะการเขียนตัวอักษรอีกด้วย

 

ใช้รับข่าวสารความรุ้ เนื่องจากแทปเลตเป็นอุปกรณ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ดี ทำให้เป็นการช่วยเปิดกว้างองค์ความรุ้ของน้องๆได้ เช่นรายการสารคดี รายการความรู้สำหรับเด็กเป็นต้น

 

แหมๆ น้องๆเห็นประโยชน์ขนาดนี้ น้องๆบางคนอาจจะรีบวิ่งกลับไปหยิบแทบเลตมาเล่นเลยใช่ไหมครับ แต่ว่า พี่เรสคงต้องให้น้องๆรอสักครู่ เพราะ สิ่งใดที่มีประโยชน์ก็ย่อมมีโทษคู่กัน   แล้ว ด้านไม่ดีของแทบเล็ตคืออะไรกันล่ะ!?

ข้อเสียหลักๆ ที่น้องๆจะได้รับจาก แท็บเล็ต ก็คือ

มันรบกวนการพัฒนาการของน้องๆ จากที่ควรจะเป็น คือ การพัฒนาอย่างสมวัย

 

น้องๆรู้มั้ยครับ  ว่าพัฒนาการสมวัยหมายถึงอะไร

พัฒนาการสมวัยหมายถึง การพัฒนาการที่เกิดขึ้นเหมาะสมกับที่ช่วงอายุนั้นเอื้ออำนวยให้เรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนา

และมันสำคัญมากๆ เพราะว่า ในทางจิตวิทยาแล้ว

คนเรามีสิ่งที่  เรียกว่า ระยะวิกฤติ(critical period) ที่จะใช้พัฒนาความสามารถในด้านนั้นๆ ตามช่วงวัยที่เหมาะสม

เช่น วัยเด็ก 2-3ขวบ ควรพัฒนา เรื่องการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใหญ่ เช่นการ คลาน การเดิน

วัยเด็ก 3-5ขวบ ควรพัฒนาเรื่องการเข้าสังคม การสื่อสาร การควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างอิสระ เช่นการวิ่ง การปีนป่าย

หรือกระทั่ง วัยเด็ก6-9 ขวบ ที่ควรจะเรียนรู้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกจับปากกาเขียนให้คล่อง ทำงานละเอียดอ่อนได้

และสิ่งสำคัญที่ทำให้เราต้องใส่ใจกับเรื่องนี้คือ ถ้าพลาดไปแล้ว จะทำให้พัฒนาได้ยาก หรืออาจจะทำไม่ได้อีกเลย

ซึ่งระยะวิกฤตินี้ อาจจะมีความยาวไม่เท่ากันขึ้นอยุ่กับแต่ละบุคคล แต่ ทุกๆคนจะมีช่วงระยะวิกฤติเพียงครั้งเดียวในชีวิต ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้อีก   เพราะเหตุนี้ ระยะวิกฤติจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ

และสิ่งที่แท็บเล็ตไปรบกวนการเจริญเติบโตของน้องๆคือ

1.การสื่อสาร  ถึงแม้พี่เรสจะแนะนำไปว่า เราจะสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดีขึ้น เพราะสื่อย่อมออกเสียง สำเนียงได้ชัดเจน เหมาะแก่การเรียนรู้ แต่ทว่า สุดท้าย มันจะเป็นการสื่อสารทิศทางเดียว ที่น้องๆเป็นฝ่ายฟัง ไม่ได้โต้ตอบ ซึ่งทำให้ หากใช้เวลากับแทบเลตมากไปจะทำให้ขาดทักษะในการสื่อสาร ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ตั้งคำถาม เพราะสื่อจัดเตรียมไว้ให้หมดแล้ว

2.การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก  การที่น้องใช้เวลากับแท็บเลตมากๆนั้น ทิศทางการเคลื่อนไหวของนิ้วมือจะเป็นไปแค่ไม่กี่รูปแบบ คือ การเลื่อน กด จิ้ม สัมผัสกับหน้าจอแบนๆ  ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับการเล่นปั้นดินน้ำมัน การร้อยลูกปัด การต่อเลโก้ ที่จะทำให้น้องๆสามารถใช้นิ้วมือได้อย่างอิสระกว่า หลากหลายทิศทางกว่า

3.ทักษะด้านมิติสัมพันธ์  วัยเด็กยังคงเป็นวัยที่ต้องฝึกฝนพัฒนาทักษะดังกล่าว โดยจะทำได้จากการละเล่น ทั่วไปในชีวิตจริง ที่ต้องมีการกะระยะ เช่นดีดลูกแก้ว โยนหิน หรือแม้กระทั่งกีฬาอย่างฟุตบอล

4.ด้านสมาธิ   ในส่วนของสมาธินั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องของระยะวิกฤติเสียทีเดียว เพราะยังสามารถพัฒนาได้อยู่ทุกวัย
แต่ทว่า การวางรากฐานในวัยเด็กนั้น เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อช่วงวัยที่เหลือมาก ซึ่ง แท็บเลต นั้นจะทำให้น้องๆ ไม่รู้จักการรอ การอดทน เพราะ เมื่อเบื่อ ก็เปลี่ยน อยากได้อะไรก็คลิกเลย โหลดทันใจ ไม่ต้องรอ   จนในที่สุดก็กลายเป็นว่า รอไม่เป็น และไม่สามารถจดจ่อต่อสิ่งต่างๆได้ และจะยิ่งแก้ยากขึ้นหากปล่อยไว้จนโต

 

 

เป็นไงครับ แท็บเล็ตที่น้องๆเล่นกันเนี่ย มันมีทั้งโทษ และ ประโยชน์ควบคู่กันไป การเล่นแท็บเล็ต ก็เป็นเรื่องดี ถ้าหากจัดเวลาให้อย่างเหมาะสม เพราะแม้แต่ เจ้าเทคโนโลยีอย่าง บิลเกตต และ สตีฟจ็อบ ก็ยังควบคุมการเล่นแท็บเลต สมาร์ทโฟน และ ยังส่งลูกเข้าโรงเรียน ที่เน้นการลงมือทำเลยครับ ดังนั้นน้องๆเอง ก็ต้องเล่นอย่างระมัดระวัง แบ่งปันเวลาไปทำอย่างอื่น บ้างนะครับ สำหรับวันนี้ พี่เรสขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ ^ ^

About The Author

rose innovation
จะเป็นอะไรไหม ถ้าไม่รู้ว่า ลูกชอบอะไรpresent raise lego robot workshopงานกิจกรรม workshop เปิดโลกหุ่นยนต์ ณ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพ ทุ่งครุ