puzzle คืออะไร อยากรู้มาหาคำตอบกันเลย
puzzle คืออะไร อยากรู้มาหาคำตอบกันเลย
สวัสดีครับน้องๆทุกคน วันนี้ก็พบกับพี่เรสอีกครั้งนะครับและแน่นอนว่าก็ยังคงมีเรื่องราวดีๆมาเล่าอีกเช่นเคย โดยคราวนี้เป็นเรื่องของ ของเล่นพัฒนาไอคิว ครับ
puzzle มีประโยชน์อย่างไร
ของเล่นพัฒนาทักษะนั้นอาจจะมีหลากหลายแบบ ซึ่งมักจะถูกเรียกรวมๆว่าpuzzleโดยมักจะมีลักษณะเด่นๆสำคัญ ก็คือ มักจะเป็นปัญหารูปแบบต่างๆ เช่น ภาพที่ไม่สมบูรณ์ ตัวต่อที่มีชิ้นส่วนและแบบให้ดู หรือ และวิธีการเล่น ก็คือการแก้ปัญหา และนั่นทำให้มันกลายเป็นของเล่นยอดฮิตที่คุณพ่อคุณแม่มักจะให้ความสนใจ เพราะเป็นจุดกึ่งกลางระหว่าง การเรียนรู้ และความสนุกนั่นเอง
แล้วpuzzleจะมีส่วนช่วยในพัฒนาการของน้องๆอย่างไรกันล่ะ ?
มีทฤษฎีมากมายที่พูดถึงเรื่องการพัฒนาการของเด็กๆ ซึ่งในคราวนี้พี่เรสก็จะขอพูดถึง2ทฤษฎีหลัก
1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอนไดค์ นักจิตวิทยาด้านการเรียนรู้
ซึ่งพูดถึงว่า กรที่เราจะสามารถทำกิจกรรมใดๆได้นั้น ต้องคำนึงถึง3ข้อ
ได้แก่
-ร่างกายพร้อม คือร่างกายมีความพร้อม เช่น หากให้เด็ก1เดือน หัดเดิน ก็จะยังไม่สามารถทำได้ เพราะกล้ามเนื้อยังแข็งแรงไม่พอ
– มีการฝึกฝน คือ ยิ่งได้ทำอะไรบ่อยๆก็จะยิ่งมีความเชี่ยวชาญในสิ่งนั้น
-มีความพอใจในผลลัพธ์ คือ หากทำแล้วมีความสุข ก็จะกลายเป็นแรงจูงใจทำให้เกิดพฤติกรรมต่อไป
2. ทฤษฎีการพัฒนาของกีเซลล์ ที่มีการพูดถึงภารกิจพัฒนาการที่สำคัญ คือ
-ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย คือการควบคุมร่างกายส่วนต่างๆ
-ทักษะการปรับตัว คือ ความสามารถในการควบคุมร่างกายให้ทำงานประสานกันได้ เช่น การใช้มือบังคับช้อนตักข้าวใส่ปาก และเคี้ยว
-ทักษะการใช้ภาษา คือการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร ความหมายของคำ วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม
-ทักษะด้านบุคลิกภาพและการเข้าสังคม คือทักษะการให้ รับ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และทักษะการร่วมมือ
แล้วทฤษฎีทั้งสอง มีส่วนอธิบายในการพัฒนาการด้วยเกมpuzzleได้อย่างไร?
คำตอบก็คือ
- ของเล่น puzzle ส่วนใหญ่ มักจะต้องอาศัยการหยิบจับ เคลื่อนย้าย พลิก หมุน ประกอบ ซึ่งเป็นการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก(นิ้ว) มัดใหญ่(แขน) สอดประสานไปกับตา ถือเป็นการพัฒนาการตามข้อที่ 1 และ ข้อที่ 2 จากทฤษฎีของ กีเซลล์
- ของเล่นจำนวนไม่น้อยสามารถเล่นได้กับเพื่อนๆ และผู้ปกครอง ซึ่งมักจะทำให้เกิดการร่วมมือ และแน่นอนว่าต้องมีการใช้ภาษา และ ทักษะการทำงานร่วมกัน แบ่งปัน ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญตามทฤษฎีข้อที่ 3 และ 4
แต่การเรียนรู้ดังกล่าว จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากว่า ร่างกายของเด็กๆ ยังไม่พร้อม เช่น นำของเล่นที่ยากเกินไปมาให้เล่น จนทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และไม่สนุกไม่อยากเล่นต่อ ในทางกลับกัน หากเราได้จัดเตรียมของเล่นให้เหมาะสมแก่น้องๆ เช่น ตัวต่อชิ้นใหญ่ ต่อง่าย สำหรับเด็กเล็กๆที่มือไม่นิ่ง เมื่อเด็กสามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็จะมีความรู้สึกพึงพอใจ และยินดีอยากจะทำซ้ำอีกครั้ง และยิ่งทำมากขึ้น ก็จะยิ่งเชี่ยวชาญในทักษะดังกล่าวมากขึ้น จนสุดท้ายก็เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ตามทฤษฎีของธอนไดค์ทั้ง 3 ข้อครับ
เป็นอย่างไรบ้างครับ กับเรื่องราวสาระดีๆ ที่พี่เรสนำมาฝากในวันนี้ เจ๋งไปเลยใช่ไหมครับ สำหรับน้องๆคนไหน ที่สนใจอยากจะหาเจ้าของเล่นประเภทpuzzleมาเล่นบ้าง
แต่ไม่รู้ว่าจะซื้ออันไหนดี ถึงจะสนุก ได้สาระ และเหมาะกับช่วงอายุของน้องๆ พี่เรสก็ขอแนะนำ ตัวต่อLego เลยครับ เพราะสามารถกระตุ้นพัฒนาการได้เป็นอย่างดีผ่านการสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบต่างๆไม่มีสิ้นสุด แถมยังไม่จำกัดความยาก หรือความง่าย เพราะตัวต่อชุดเดียวกัน สามารถต่อได้ตั้งแต่ผลงานสำหรับเด็ก อนุบาล ไปจนถึงผลงานซับซ้อนสำหรับผู้ใหญ่
และที่สำคัญ ของเล่นมีความคงทน อยู่ได้นาน แต่ก็ไม่น่าเบื่อ เพราะสามารถพลิกแพลงได้ไม่จำกัด และหากน้องๆคนไหนสนใจ อยากจะให้ผลงานที่ต่อขยับเองได้ ก็สามารถมาต่อ lego midnstrom กับพี่เรสได้เลยครับ สำหรับวันนี้ พี่เรสก็ต้องขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ
Retrieve from : Thorndike, E. L. (1898). Animal intelligence: An experimental study of the associative processes in animals. Psychological Monographs: General and Applied, 2(4), i-109.
Retrieve from : http://oknation.nationtv.tv/blog/pannida/2012/11/12/entry-5
https://schoolworkhelper.net/growth-and-development-theory-arnold-gesell-1880-%E2%80%93-1961/
https://childdevelopmentinfo.com/child-activities/why-puzzles-are-good-for-your-childs-development/#.WWnaiRWGPIU
Child development and personality.
Mussen, Paul Henry; Conger, John Janeway
Oxford, England: Harper Child development and personality.(1956). xii 569 pp.
https://www.pexels.com/photo/bricks-child-kid-lego-113419/
สนใจติดต่อ
clike -> contactus