fbpx

การพยากรณ์อากาศ ทำได้อย่างไร

การพยากรณ์อากาศ ทำได้อย่างไร

การพยากรณ์อากาศ ทำได้อย่างไร

เปาะแปะ เปาะแปะ สวัสดีครับ เสียงเมื่อกี้ เป็นเสียงเม็ดฝน แหม เผลอแปปเดียวเองนะครับ ฝนก็ตกกระหน่ำ ลงมาเสียอีกแล้วน้า แต่ว่าๆ ดีนะที่พี่เรสพกร่มมาก่อน

ว่าแต่ ทำไมพี่เรสถึงรู้นะเหรอ?

พี่เรสจะกระซิบบอก ความลับนะครับ ที่พี่เรสรู้ว่า ฝนจะตกนั้น เพราะว่า พี่เรสดูพยากรณ์อากาศ ยังไงล่ะ

 

การพยากรณ์อากาศ ทำได้อย่างไร

 

การพยากรณ์อากาศ สำหรับสมัยก่อน เราคงต้อง ตื่นมาดูข่าวตอนเช้า เพื่อให้ทราบถึง สภาพอากาศ แต่ปัจจุบันนี้ เราสามารถ ดูได้ทุกเมื่อ ขอแค่มีเพียงมือถือสักเครื่อง และเลือกใช้แอพ พยากรณ์อากาศต่างๆ หรือแม้แต่เสิร์ชกูเกิ้ล เอาเสียก็ยังได้

แต่น้องๆ รู้ไหมครับ ว่า การพยากรณ์อากาศเนี่ย เขาทำกันยังไง

ถ้าหากยังไม่รู้ แล้วละก็ วันนี้พี่เรส ก็มีตัวอย่าง เทคโนโลยีเจ๋งๆ ที่บรรดา นักคณิตศาสตร์ ใช้ในการพยากรณ์อากาศ มาฝากกันครับผม เรามาเริ่มกันที่

 

ดาวเทียม เก็บข้อมูลจาก ชั้นบรรยากาศ

น้องๆที่ได้อ่าน เรื่องเล่าของพี่เรส ก็คงจะได้ยินคำนี้ คุ้นหูคุ้นตา กันบ่อยๆ เพราะพี่เรส ก็เน้นย้ำอยู่ว่า ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีไม่ได้ครอบคลุม เพียงพื้นโลก แต่ยังรวมไปถึง การใช้งานบนอวกาศอีกด้วย และการสังเกตการณ์ สภาพอากาศ ก็ถือเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ ดาวเทียม มีความสำคัญครับ เพราะสามารถ ทำการเก็บข้อมูล บรรยากาศจากชั้น ที่สูงกว่าบอลลูนธรรมดาๆ หรือ ธงบอกทิศทางลมได้

Super computer คำนวณผล การเก็บข้อมูล ที่มากมายมหาศาล

มาถึงก็เริ่มที่ ของชื่อคุ้นๆ เลยนะครับ แต่ว่า ไอเจ้า Super computer เนี่ย มันไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แบบที่เรามีกัน ตามบ้านนะครับ เพราะว่า มันคือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ และมีกำลังการประมวลผลสูง กว่าคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป หลายหมื่นเท่า เพื่อให้สามารถ คิดคำนวณปัจจัยเล็กๆ หลายปัจจัย แถมแต่ละปัจจัย ยังเป็นตัวเลขจำนวนมหาศาล จึงจะสามารถ แปรผลออกมา เป็นค่าสภาพอากาศได้

สำหรับด้านความละเอียดนั้น พี่เรสได้ยินมาว่า ต้องใช้ละเอียด ถึงขั้นใช้จุดทศนิยม 7-9 หลัก เลยครับ และถ้าหากเราเผลอคิด แบบปัดประมาณๆ ไปเป็น 5-6 หลักขึ้นมา สภาพอากาศ ที่ทำนายออกมาได้ จะกลายเป็นคนละเรื่องกันเลย  เพราะงั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ทั่วๆไป ใช้งานไม่ได้แน่นอน

 

WMapp กระจายข่าวทันใจ

และสุดท้ายครับ เรามีเครื่องมือ เก็บข้อมูลก็แล้ว คำนวนก็แล้ว ต่อมา ก็เครื่องมือกระจายข่าวสารครับ นั่นก็คือ แอพพลิเคชั่น สำหรับรับข้อมูล การพยากรณ์อากาศ ภายในประเทศไทย โดยที่น่าภูมิใจไปกว่านั้น ก็คือ ผลงานดังกล่าว เป็นของ ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี อาจารย์ประจำภาควิชา วิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  จากประเทศไทยของเราเอง ที่เป็นผู้คิดค้นผลงานดีๆ เพื่อชาวไทย โดยมีความแม่นยำ และละเอียดสูงสุด ในอาเซียนเลยนะครับ

 

เอาล่ะครับ และนี่ก็เป็นตัวอย่าง ของเทคโนโลยี ที่เข้ามาช่วย เรื่องการพยากรณ์อากาศ ทั้งสามด้าน ทั้งด้านการเก็บข้อมูล การประมวลผล และการกระจายข่าวสาร อย่างทั่วถึง ซึ่ง ก็คงปฏิเสธ ได้ยากกว่าเรื่องสภาพภูมิอากาศ ไม่สำคัญกับเราเท่าไหร่นัก เพราะไม่ว่าจะด้านการเกษตร ชลประทาน การเดินทาง หรือแม้แต่จัดกิจกรรมต่างๆ ก็ล้วนแต่ได้รับ ผลกระทบจากสภาพอากาศ ที่ไม่ดีทั้งสิ้นใช่ไหมล่ะครับ

สำหรับวันนี้ พี่เรสก็ต้องขอตัว ลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ

 

Data Retrieve from :https://nextempire.co/stories/news/wmapp-

Data Retrieve from :https://www.eo.ucar.edu/basics/wx_4.html

Data Retrieve from :http://home.bt.com/tech-gadgets/technology-behind-weather-forecast-11364135601119

Data Retrieve from :http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=35&chap=6&page=t35-6-infodetail06.html

 

สนใจติดต่อ

clike -> contactus

About The Author

num raise
เทคโนโลยี ช่วยนักดับเพลิงของเล่นทางเลือก แสนมีประโยชน์