fbpx

โรคสมาธิสั้น เกิดขึ้นได้ยังไงและจะหาวิธีแก้ไขอย่างไร

โรคสมาธิสั้น เกิดขึ้นได้ยังไงและจะหาวิธีแก้ไขอย่างไร

โรคสมาธิสั้น เกิดขึ้นได้ยังไงและจะหาวิธีแก้ไขอย่างไร

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้ก็พบกับพี่เรส อีกเช่นเคย และในคราวนี้ พี่เรสก็มีเรื่องราวดี ๆ มาฝากอีกเช่นเคย

 

โรคสมาธิสั้น จะสังเกตได้หรือไม่

 

และในครั้งนี้ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ จุดสังเกต ของคนสมาธิสั้น นั่นเอง  เนื่องจากในปัจจุบันนี้ มีน้องๆ จำนวนมากที่เข้าข่ายการเป็นโรคสมาธิสั้น จากการเล่นของเล่นประเภท แท็บเล็ต ที่สามารถย้ายช่องได้ทันทีที่เบื่อ ไม่จำเป็นต้องรอ ดังนั้น พี่เรสจึงอยากจะแนะนำ วิธีสังเกตไว้ เพื่อที่น้องๆ จะได้ช่วยกันระมัดระวังว่า เพื่อนคนไหน เริ่มเข้าข่ายแล้วบ้าง เอาล่ะครับ เรามาดูกันเลยดีกว่า ว่าอาการแบบไหน ถึงจะใช่โรคสมาธิสั้น

ยุกยิกบ่อยแบบนี้ เรืยกโรคสมาธิสั่นรึป่าว

1.อาการขาดสมาธิ :คือ มีอาการเหม่อ ไม่ตั้งใจทำงานที่ต้องใช้ความพยายาม หรือทำงานไม่เรียบร้อย หลงลืมงานที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น งานบ้าน วอกแวกตามสิ่งเร้าได้ง่าย

ซึ่งจะมีจุดสังเกตที่เข้าข่ายอยู่ด้วยกันดังนี้

หมวด อาการขาดสมาธิ

1.ทำงานผิดพลาดจากความไม่รอบคอบ

2.ขาดความตั้งใจที่ต่อเนื่อง ในการทำงาน หรือแม้แต่การเล่น

3.ดูเหมือนไม่ฟัง เมื่อมีคนพูดด้วย

4.ไม่ทำตามคำสั่ง หรือทำงานไม่เสร็จ (โดยที่เข้าใจคำสั่งดี และไม่ได้จงใจเมินเฉย)

  1. ทำของที่จำเป็นต้องใช้หายบ่อย ๆ (เช่น อุปกรณ์การเรียน)
  2. วอกแวกตามสิ่งเร้าได้ง่าย
  3. ขี้ลืมเกี่ยวกับ กิจวัตรประจำวัน

หมวดอาการอยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น

  1. มักขยุกขยิก หรือนั่งไม่นิ่ง
  2. มักนั่งไม่ติดที่ เช่น ลุกจากที่นั่งในห้องเรียน หรือในที่ที่ควรนั่งอยู่กับที่
  3. เล่น หรือใช้เวลาว่างอย่างเงียบๆ ไม่ค่อยได้
  4. มักพูดโพล่ง ตอบโดยไม่ทันฟังคำถามจนจบ
  5. มักไม่ค่อยรอ จนถึงคิวของตน
  6. ขัดจังหวะผู้อื่น เช่น พูดแทรก หรือสอดแทรกการเล่นของผู้อื่น

หากพบ อาการต่อไปนี้ อย่างน้อยๆ รวมกันได้ 6 ข้อ เป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือนก็ถือว่า มีความเสี่ยงสูงในการเป็น โรคสมาธิสั้น ซึ่งควรรีบนำไปพบจิตแพทย์ เพื่อปรึกษาหาแนวทาง ในการรับมือต่อไป เพราะอาการขาดสมาธิ ในวัยเด็กนั้น มีความน่ากลัว ตรงที่หากปล่อยไว้อาการจะสามารถคงอยู่ ไปจนถึง วัยรุ่น ถึง วัยกลางคน ซึ่งจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการเรียน และการทำงานได้

หากรู้กันอย่างนี้แล้ว ก็ช่วยกันสอดส่องให้ดีนะครับ เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที

แต่อย่างไรก็ตาม การเล่นบางประเภทก็สามารถช่วยส่งเสริม ในเรื่องของสมาธิ ได้นะครับ เช่น การวาดภาพ การสร้างผลงานศิลปะ ปลูกต้นไม้ และ แน่นอนครับ การต่อเลโก้เอง ก็เช่นกัน เพราะกิจกรรมเหล่านี้ มีจุดร่วม คือ ต้องใช้ความอดทน ในการสร้างผลงาน ต่างจากของเล่นสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ เช่น รถบังคับ ที่อยากจะเล่น เมื่อไหร่ก็เปิดสวิทช์เล่นได้เลย แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น การส่งเสริมในการทำกิจกรรมที่ดีที่สุด จะต้องเป็นไปตามความสนใจ ของเด็กๆ ด้วยนะครับ เพราะหากฝืนใจทำแล้วละก็ แทนที่จะช่วยให้สมาธิดีขึ้น อาจจะเกิดการต่อต้านจากการโดนบังคับแทนก็เป็นได้

เอาล่ะครับสำหรับวันนี้เอง พี่เรสก็ต้องขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ

สนใจติดต่อ

clike -> contactus

About The Author

num raise
เกม ภัยร้ายที่ควรหนี หรือสิ่งดีๆที่ควรรับพัฒนาการทางจริยธรรม ของน้องๆจะเป็นอย่างไร