fbpx

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ จริงหรือไม่

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ จริงหรือไม่

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ จริงหรือไม่

ประโยคเรียบง่ายข้างต้นถูกกล่าวโดยไอนสไตน์ นักฟิสิกส์ชื่อดังก้องโลกจนแม้แต่เด็กๆยังรู้จัก

แต่ความจริงแล้ว หากจะให้พูดฟันธงก็คงสรุปได้ยากว่า คำพูดดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ เพราะหากมีแต่จินตนาการไม่มีความรู้ หรือมีแค่ความรู้แต่ไม่มีจินตนาการ ก็อาจจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างเหมาะกับงานแต่ละชนิดกันไป

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ จริงหรือไม่

 

bb

 

หากแต่มีสิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้ก็คือ มีทั้งสองอย่างยอมดีที่สุด เพราะนอกจากจะมีจินตนาการแล้ว หากมีความรู้ด้วย ก็จะสามารถสร้างจินตนาการให้กลายเป็นจริงได้ ซึ่งอาจนำมาสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยเหลือผู้คนมากมาย ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น หรือ อาจจะเป็นการสร้างสรรค์เมนูอาหารแปลกใหม่ ดที่น่าลิ้มลอง รึแม้กระทั่งการสร้างผลงานศิลปะที่ใช้เทคนิคน่าตื่นตาตื่นใจที่ทำให้ผู้ชมมีความสุข  และอื่นๆอีกมากมายที่จำเป็นต้องอาศัยทั้งความรู้และจินตนาการ

อย่างไรก็ตาม การจะมีทั้งสองอย่างก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแต่ละอย่างก็ต้องใช้ความอดทนในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ ที่จะต้องอดทนบากบั่นเรียน ท่องจำ ลงมือปฏิบัติให้คล่องแคล่ว

และจินตนาการ ที่ไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถท่องจำเอาได้ แต่ยังต้องอาศัยลักษณะนิสัยบางอย่างเช่น การกล้าคิดกล้าแสดงออก การไม่กลัวความล้มเหลว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะพัฒนาได้ผ่านการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆด้วยตนเองจนสั่งสมประสบการณ์ขึ้นมาเท่านั้น ไม่สามารถสอนให้กันโดยตรงได้

และที่สำคัญโอกาสในการสร้างลักษณะนิสัยดังกล่าวที่ดีที่สุด กลับอยู่ในช่วงวัยเด็ก อีกด้วย

อ้างอิงจากทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของ เอริกสัน* ที่ได้ทำการวิจัยค้นคว้าเอาไว้ เขาพบว่า ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการจะสร้างลักษณะนิสัยดังกล่าว อยู่ในช่วงวัยระหว่าง 3-12ปี
โดยแบ่งเป็น3ขั้นหลักๆคือ

ช่วงอายุ3-5ปี  ช่วงวัยในการพัฒนาความกล้าคิด

เด็กๆในช่วงวัยนี้จะมีความซุกซน ชอบลองนู่นลองนี้ เอาของกินมาผสมของเล่นบ้าง หรือสร้างสรรค์ผลงานเลียนแบบตัวการ์ตูน หนัง นิทาน ที่ชื่นชอบ โดยในขั้นตอนนี้หากได้มีพื้นที่สำหรับสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และได้คำชมส่งเสริม เด็กๆก็จะกลายเป็นคนที่มีจินตนาการ กล้าคิดสิ่งใหม่ๆ แต่หากเด็กๆถูกดุบ่อยๆ หรือถูกห้ามปราม ก็จะทำให้พัฒนาความรู้สึกผิด ไม่กล้าคิดอะไร

ช่วงอายุ5-12ปี ช่วงวัยในการพัฒนาความกล้าทำ

ในช่วงวัยดังกล่าวเป็นช่วงที่เด็กๆจะต้องไปโรงเรียน เจอสังคมเพื่อนๆ และแน่นอน เจอการแข่งขันทั้งด้านการเล่น การเรียน

หากเด็กๆเรียนเก่ง เล่นเก่ง หรือได้สร้างสรรค์ผลงานต่างๆที่ไม่น้อยหน้าเพื่อนๆ ได้รับคำชมจากคุณครู ผู้ปกครองอยู่เสมอๆก็จะทำให้เกิดความมั่นใจ และมีความคิดว่า “ฉันทำได้” ติดตัวไปด้วย แต่กลับกันหากเด็กๆรับรู้ว่าตนเองทำสิ่งใดก็สู้ใครไม่ได้ จะพัฒนาลักษณะ “ฉันทำไม่ได้” ติดตัวเกิดเป็นความกลัวเมื่อจะลงมือทำสิ่งต่างๆเพราะคิดว่าคงจะล้มเหลวแน่นอน

และแน่นอนว่า วิธีการที่เหมาะสมที่สุด ในการส่งเสริมความกล้าคิดกล้าทำ ย่อมไม่พ้น “ของเล่น” แน่นอน เนื่องจากช่วงวัยดังกล่าวยังเป็นช่วงวัยที่อายุน้อย ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด สำหรับเด็กๆ ก็คงไม่พ้นการเล่น โดยของเล่นที่สามารถจะเล่นได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบไปจนถึง 12 ขวบ ก็แน่นอนว่าคงไม่พ้นชุดตัวต่อเลโก้ ที่ทั้งให้พื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ และเมื่อทำเสร็จผลงานดังกล่าวยังกลายเป็นชิ้นส่วนผลงานที่สามารถอวดคุณพ่อคุณแม่อีกด้วย หากน้องๆคนไหนสนใจอยากจะพัฒนาทักษะกล้าคิด กล้าทำกับเพื่อนๆโดยมีคุณครูผู้เชี่ยวชาญอยู่ดูแลอย่างใกล้ชิดแล้วละก็พี่เรสก็ขอแนะนำให้มาที่โรงเรียนสอนพิเศษเสริมทักษะเรสจีเนียสสคูล ได้ตามลิ้งค์ด่านล่างเลยครับ

https://www.facebook.com/RaiseGenius/

 

 

*data retrieve from : https://www.simplypsychology.org/Erik-Erikson.html

 

Pic retrieve from : https://unsplash.com/photos/Do1GQljlNk8

 

 

About The Author

num raise
ทำอย่างไร ให้เด็กได้วิชาการและกิจกรรมในหัวใจทำไมเด็ก จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยี