fbpx

การเตรียมตัวสำหรับเป็น นักสร้างหุ่นยนต์

การเตรียมตัวสำหรับเป็น นักสร้างหุ่นยนต์

การเป็น นักสร้างหุ่นยนต์ จะต้องมีการเตรียมตัวหลายๆ ด้านนะครับ มีเริ่มไล่กันเลยนะครับ

1 ทักษะแรกของ นักสร้างหุ่นยนต์ คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์

นักสร้างหุ่นยนต์กับความคิดสร้างสรรค์ มีรากฐาน มาจาก การเชื่อมโยง จินตนาการ โดยที่ จินตนาการเหล่านั้น ผ่านการประมาณ มาแล้ว ว่าสามารถ นำมาใช้ได้จริง และ มีประโยชน์ ในวงการ สร้างหุ่นยนต์ เราสามารถ นำมาประยุกต์ใช้ได้ กับ ทุกอย่างรอบตัวเรา ดังนั้น “ความคิดสร้างสรรค์” จึงเป็นการจุดประกาย อันดับแรก ที่ทำให้เรา มีแรงบันดาลใจ ให้นำหุ่นยนต์มาผนวก กับสิ่งรอบตัว ของเรา ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ เพื่อการศึกษา หุ่นยนต์เพื่อการแพทย์ หุ่นยนต์เพื่อความบันเทิง อย่างเฟอร์บี้ หุ่นยนต์ เพื่อการสำรวจอวกาศ หรือ แม้กระทั่งหุ่นยนต์ เพื่อการเกษตร และ ใกล้ตัวยิ่งกว่านั้น คือ หุ่นยนต์ ที่อำนวย ความสะดวกต่างๆ ในบ้าน ให้กับเรา เช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ตอนนี้ มีหลายยี่ห้อ ผลิตออกมา ให้เลือกมากมาย

 

นักสร้างหุ่นยนต์ 1

2 ทักษะ ด้านคณิตศาสตร์

เนื่องจาก หุ่นยนต์ ต้องมีความแม่นยำสูง ในการทำงาน ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เราจะนำคณิตศาสตร์ เข้ามาคำนวณ เพื่อให้หุ่นยนต์ มีความแม่นยำ ในการเคลื่อนไหวสูง หรือแม้กระทั่ง การคำนวน แรงมอเตอร์ เพื่อให้หุ่นยนต์ สามารถทรงตัวได้ดี และรับน้ำหนักของตัวเองได้ในขณะที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนที่

นักสร้างหุ่นยนต์ 2

3 ทักษะด้านภาษาที่2

ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ  จีน  เยอรมัน  ญี่ปุ่น หรือ เกาหลีก็ได้  ในการสร้างหุ่นยนต์สำหรับทุกประเทศแล้ว การแลกเปลี่ยนเทคนิคต่างๆ จากหลายๆ ประเทศ จะเป็นการช่วยย่นเวลา ในการพัฒนาวิจัยลงมาก ทำให้การต่อยอด ของหุ่นยนต์ในด้านต่างๆ หรือหุ่นยนต์ ในแต่ละชนิด จะมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ต้องเริ่มนับ ตั้งต้นใหม่ ดังนั้นภาษาที่ 2 จึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการสร้างหุ่นยนต์ ด้วยนะครับ เพื่อที่จะได้ค้นคว้า ว่าประเทศอื่นๆ มีการพัฒนาเทคนิคใด ที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ไปแล้วบ้าง

นักสร้างหุ่นยนต์ 3

4 ทักษะด้านพื้นฐานฟิสิกส์

เป็นเรื่องธรรมดา อยู่แล้ว ที่หุ่นยนต์ จะต้องมีการเคลื่อนไหว หรือ เคลื่อนที่ ออกจากจุดกำเนิด ดังนั้น หากน้องๆ มีความเข้าใจ เกี่ยวกับฟิสิกส์ ของโลกใบนี้ น้องๆก็จะ สามารถทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ ได้คล่องขึ้น สะดวกขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานความรู้ มาจากเรื่อง “แรงและการเคลื่อนที่”  ทั้งนั้นเลยครับ

Robotic engineer 4

 

5 ทักษะด้านโปรแกรมมิ่ง

ทักษะด้านโปรแกรมมิ่งนี้ ไม่มีได้หรือเปล่า น้องลองคิดดู หากเรามี เครื่องจักรอยู่เครื่องนึง ที่ไม่ต้องมีการเขียนโปรแกรม เข้าไปแล้ว เครื่องจากนั้นจะ รู้ได้อย่างไรว่า จะต้องเคลื่อนที่ ไปทางซ้ายไปทางขวา หรือขึ้น หรือลง เป็นต้น ดังนั้นการโปรแกรมมิ่ง จะเป็นการเชื่อมต่อ ระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ เพื่อให้หุ่นยนต์ทราบว่า ตัวเองจะต้องทำงานอย่างไร ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร หาไม่แล้วหุ่นยนต์ตัวนั้น ก็จะเป็นแค่เครื่องจักรธรรมดา ที่วางอยู่เฉยๆ ไม่เคลื่อนไหว อะไรเลย ซึ่งปัจจุบันนี้ มีภาษาโปรแกรมมิ่ง ที่สามารถเชื่อมต่อ กับ หุ่นยนต์ได้หลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาซี c # ไพธอน ฯลฯ ซึ่งความยากง่าย ของภาษาสำหรับโปรแกรมมิ่ง ขึ้นอยู่กับความถนัด ของน้องแต่ละคน ซึ่งในสมัยนี้มนุษย์พยายาม พัฒนาภาษาโปรแกรมมิ่ง ให้ออกมาคล้าย กับภาษามนุษย์ มากที่สุดแล้วครับ

Robotic engineer 5

6 ความกล้าแสดงออก

ในการสร้างหุ่นยนต์ ความกล้าแสดงออกมาเกี่ยว อะไรด้วยครับ อ้าว!! สำคัญเชียว ถ้าเกิดว่าน้องไม่กล้า พรีเซ็นท์ ว่าหุ่นยนต์ของตัวเอง สามารถทำอะไร ได้บ้างแล้ว คนรอบๆข้าง จะเข้าใจ ในการทำงานของหุ่นยนต์เรา ได้อย่างไร ดังนั้นความกล้าแสดงออก จึงเป็นเครื่องมือ สำคัญสำหรับการสื่อสาร ให้คนที่สนใจ ในงานของเรา ได้เข้าใจว่า เรากำลังคิด และ ทำอะไรอยู่

Robotic engineer 6

 

7 การไม่กลัว ความผิดหวัง

ในการทำหุ่นยนต์ แน่นอนว่า สำหรับผู้บุกเบิกแล้ว จะไม่มีการสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก ดังนั้น หากน้องที่มีความคิดว่า อยากสร้างหุ่นยนต์ จะต้องเตรียมความผิดหวังเอาไว้เลยครับ เพื่อที่ว่า จะได้ปรับตัวได้ หากหุ่นยนต์ที่เราพัฒนา ขึ้นในเวอร์ชั่นแรก ยังไม่ประสบความสำเร็จ หรือ ยังไม่สมบูรณ์ เราจะต้องยอมรับ ความผิดหวังให้ได้ เพื่อที่จะพัฒนาเวอร์ชั่น ต่อๆไป ครั้งแล้ว ครั้งเล่า ให้ดียิ่งขึ้นครับ

Robotic engineer 7

About The Author

num raise
ทำไมพี่เรสถึงอยากทำโรงเรียนสอน สร้างหุ่นยนต์สร้างหุ่นยนต์ช่วยมนุษย์ทำงานกิจกรรมปิดเทอมเรียนประดิษฐ์หุ่นยนต์ คอร์สช่วงปิดเทอม ต่างกับ คอร์สเสาร์, อาทิตย์อย่างไร