ศักยภาพของลูกน้อย ทางด้านการคิดในแต่วัย
ศักยภาพของลูกน้อย ทางด้านการคิดในแต่วัย
สวัสดีครับ น้อง ๆ ทุกคน วันนี้ ก็พบกัน กับพี่เรส อีกครั้ง นะครับ และแน่นอน ว่าพี่เรสเอง ก็มีสาระดี ๆ มาฝาก อีกเช่นเคย
และเรื่องราว ในคราวนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “พัฒนาการด้านความคิด” ครับ
แหม่ เริ่มเรื่องมา ก็ฟังดูน่าเบื่อ ไม่สนุกเลย แต่จริง ๆ แล้วเรื่อง นี้น่าสนใจ มาก ๆ นะครับเพราะว่า น้อง ๆ เคยสังเกตไหมครับ ว่าทำไม เด็ก ๆ บางคนถึงคุยด้วย ไม่รู้เรื่อง ถามโจทย์เลข ง่าย ๆ เช่น 1+1 ก็ยังคิด ไม่ออก แล้วเมื่อไหร่ เด็กคนอื่น ถึงจะคิดเลขได้แบบเรา กันนะ
หากน้อง ๆ มีข้อสงสัย แบบนี้ขึ้น มาแล้ว ละก็ พี่เรส ก็มีคำตอบ จะมาบอกครับ
เหตุผล ที่น้อง ๆ แต่ละคน มีทักษะการคิด ที่ไม่เท่ากัน นั้น แท้จริงแล้ว มันเป็นลำดับ ขั้นการคิด ที่เกิดขึ้นอย่าง เป็นระบบครับ!
หากจะ พูดง่าย ๆ คือ สมมุติ ว่ามีทักษะ การคาดคะเน ระยะ ทักษะการบวกเลข ทักษะการคิดเชิงนามธรรม
เด็กทุกคน ก็จะมีการเรียนรู้ แบบเดียวกัน ก็คือ จะคาดคะเน ระยะได้ก่อน แล้วจึงบวกเลขได้ และสุดท้าย คือ การคิดเชิงนามธรรม เหมือนกัน ทุกคน จะไม่มี การข้ามขั้นไปเรียนรู้ อย่างอื่นก่อน ได้เลย ดังนั้น การรู้ว่า เด็กคนนี้ มีทักษะอะไรอยู่ จึงทำให้เราสามารถ บอกถึงอายุ สมองได้ในตัว อีกด้วย
ว่าแต่ ลำดับขั้นนั้น จะมีอะไรกันบ้างนะ เรามาชมกันเลยดีกว่าครับ
1.ขั้นแรก การรับรู้ความคงที่ (0-2ปี)
เคยแปลกใจ ไม่ว่า ทำไม กันน้า เด็กตัวเล็ก ๆ แรกเกิดเนี่ย แค่เล่น จะเอ๋!! ด้วย ก็หัวเราะเอิ้กอ้าก!!! ชอบใจใหญ่เลย ทั้ง ๆ ที่แค่เอามือ ปิดหน้า ไว้สักพัก แล้วก็เปิด มาจ๊ะเอ๋!! เอง
เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่า สำหรับเด็กแรกเกิด แล้ว สิ่งที่ถูกบดบัง ก็คือ สิ่งที่หายไปเลย เขายังไม่เข้าใจว่า ใบหน้าคุณพ่อ คุณแม่ แค่แอบ อยู่หลังมือ ไม่ได้หายไปไหน ดังนั้น การที่จู่ ๆ ใบหน้า คุณพ่อ คุณแม่ ปรากฎขึ้นมา อีกครั้ง จึงดึงดูด ความสนใจ ของทารกตัว น้อย ๆ ได้มาก เพราะเขา คิดว่า การที่ จู่ ๆ ใบหน้าจะหายไป แล้วก็โผล่กลับมา เนี่ย มันน่าตื่นเต้น มาก ๆ เลยไงล่ะ!
2.ขั้นที่สอง ความสามารถในการเข้าใจกฎการอนุรักษ์ (2-7ปี)
[embedplusvideo height=”400″ width=”300″ editlink=”http://bit.ly/2lq2gmG” standard=”http://www.youtube.com/v/gnArvcWaH6I?fs=1″ vars=”ytid=gnArvcWaH6I&width=300&height=400&start=&stop=&rs=w&hd=0&autoplay=0&react=1&chapters=¬es=” id=”ep6845″ /]
สำหรับ ในเด็กวัยนี้ แล้ว เรียกได้ว่า เป็นวัยที่เริ่ม จะเบื่อมุก เดิม ๆ อย่างการเล่น จ๊ะเอ๋!! แล้วล่ะครับ เพราะว่าพวกเขา เข้าใจ แล้วว่า ใบหน้าที่แอบอยู่ หลังมือ ก็ยังไม่ได้ หายไปไหน แต่ทว่า พวกเขาก็ยังเจอปัญหาใหม่ ที่ยากกว่าเดิม เข้าให้จนได้
นั่นก็คือ เขาไม่เข้าใจว่า สิ่งของต่าง ๆ เนี่ย มันมีความคง ที่อยู่ จะอธิบาย ง่าย ๆ นะครับ เช่น หากน้อง ๆ ลองปั้นดินน้ำมัน สองก้อน แบ่งเป็นเท่า ๆ กันไปให้เด็ก 4-5 ขวบดู แล้วถามว่า ก้อนไหนเยอะกว่า ในรอบแรก พวกเขาจะตอบได้ ทันทีเลยว่า เท่ากัน
แต่ โจทย์ของจริง กำลังจะเริ่มตรง นี้ครับ นั่นก็คือ ให้น้อง ๆ ลองปั้นก้อนหนึ่ง ให้ยาวขึ้น ยาวขึ้น แล้วถามดู อีกครั้ง ว่าก้อนไหน มีดินน้ำมัน เยอะกว่า คราวนี้ ละครับ พี่เรสรับรองเลยว่า เด็กตัวน้อย ๆ คนนั้น จะต้องทำหน้า งงสักพัก ก่อนจะชี้ไปที่ ก้อนดินน้ำมันยาว ๆแน่เลยครับ
เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ เด็ก ๆ ในวัยนี้ เขาเข้าใจว่า สิ่งของต่าง ๆ เนี่ย มันสามารถเพิ่ม/ลดจำนวนได้เอง โดยที่ไม่ต้องเอาอะไร ใส่เข้าไปหรือ เอาออกมา และนอกจากดินน้ำมันแล้ว หากดูจากคลิปก็จะพบว่า มีกฎการอนุรักษ์ อีกหลายแบบเลย ที่เราจะเห็นได้ว่า เด็ก ๆ เหล่านี้เนี่ย ยังไม่สามารถเข้าใจได้
3.การคิดเชิงนามธรรม (7-15ปี )
แหม่ สำหรับสิ่งสุดท้ายนี้ ก็นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ยากเอาการเลยทีเดียว เพราะ การคิดระดับนี้หมายถึง สามารถคิดคำนวนในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงได้ เช่น ถ้า A=2 แล้ว A+B=3 สรุปว่า B=เท่าไหร่? หากเจอคำถามนี้เข้าไปแล้วละก็ จะต้องทำหน้างงใส่แน่นอน เพราะว่า การแทนค่านั้น ถือเป็นทักษะการคิดชั้นสูงเลยทีเดียว แต่ถ้าหากน้อง ๆ คนไหนที่ อายุยังไม่ถึง7ปีแต่ยังสามารถแก้ไขโจทย์แบบนี้ หรือ สามารถเรียนรู้การเขียนโปรแกรมกับพี่เรสได้ละก็ แสดงว่าเด็กคนนั้นจะต้องมีแววทางด้านทักษะการคิดวิเคราะห์แน่ ๆ เลยล่ะ
เอาล่ะ สำหรับวันนี้ก็จบไปแล้วกับสาระดีๆในเรื่องของ ขั้นการพัฒนาการสำหรับน้องๆในแต่ละช่วงวัย ทีนี้ น้องๆก็จะได้รู้แล้วนะครับว่า เด็กในแต่ละช่วงวัยนั้น เขาจะมีความสามารถเข้าใจอะไรได้บ้าง สำหรับวันนี้ พี่เรสก็คงต้องขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ
สนใจติดต่อ
clike -> contactus