fbpx

การฝึกภาษาที่ ที่ไม่ควรทำ

การฝึกภาษาที่ ที่ไม่ควรทำ

การฝึกภาษาที่ ที่ไม่ควรทำ

สวัสดีครับน้องๆเมื่อไม่นานมานี้ กลายเป็นกระแสฮือฮาชื่นชมกันในโลกโซเชี่ยล หลังจากสำนักข่าวไทยรัฐได้เสนอข่าว เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2018 เป็นเรื่องราวของเด็กคนหนึ่ง ที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วผิดกับวัย ทั้งๆที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน โดยคุณแม่บอกว่า เกิดจากการให้ลูกอยู่กับมือถือ เป็นเวลานานจนแทบไม่พูดภาษาไทย กับคนในบ้าน

มันอาจจะฟังดูคล้ายข่าวดีนะครับ ที่ยูทูบสามารถพัฒนาทักษะด้านภาษาได้ขนาดนี้

แต่ความจริงนั่นกลับกลายเป็นเรื่องอันตราย…

 

การฝึกภาษาที่ ที่ไม่ควรทำ

เนื่องจากวัยเด็กเล็กอายุก่อน 5 ขวบ เป็นช่วงภาวะวิกฤติ ของการใช้ภาษา หรือเป็นช่วงที่สมองมีความพร้อมที่สุดในการเรียนรู้ด้านภาษา

ซึ่งบางคนอาจจะไม่สังเกต แต่ว่า เด็กๆเรียนรู้ภาษาต่างๆ โดยสามารถจับหลักไวยากรณ์เอง จากการฟัง พูดเป็นคำๆ กับผู้ใหญ่ในบ้านซึ่งจริงๆมันเทียบได้กับการที่เราต้องเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักหรือคุ้นเคยมาก่อนเลย โดยการฟังที่คนรอบตัวพูดกัน มิหนำซ้ำ ยังเอาภาษามาใช้ได้อย่างคล่องแคล่วภายในเวลาไม่กี่ปี

น่าทึ่งใช่ไหมล่ะครับ ที่พอหลังจากนั้นการจะเรียนภาษาที่สองที่สามกลับต้องใช้ความพยายามนั่งท่องจำให้คนช่วยสอน ฯลฯ อีกมากมาย ถึงจะสามารถเรียนรู้ได้สักภาษานึง

นั่นคือ ประสิทธิภาพของ การเรียนรู้ใน “ภาวะวิกฤติ” หรือช่วงวัยที่เหมาะสมกับการเรียนรู้

 

แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าในช่วง”ภาวะวิกฤติ”  ข้อมูลการเรียนรู้กลับถูกสอนโดยยูทูบ

คำตอบคือ เด็กๆจะสามารถจำคำต่างๆได้อย่างคล่องแคล่วครับ

แต่จะเข้าใจความหมายของมัน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ไหม นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

เพราะภาษาที่เรียนรู้จากยูทูบไม่ใช่ภาษาที่กระตุ้นให้สื่อสาร  เราได้แค่ฟัง และจำมาพูดตาม

ในขณะที่การเรียนรู้ตามปกติ เด็กๆจะได้เรียนรู้การโต้ตอบกับคนรอบข้าง ที่เป็นการพูดคุยจริงๆ สื่อสารจริงๆ

จึงทำให้เด็กๆเรียนรู้คำ แต่ไม่ได้เรียนรู้การสื่อสารมาด้วย จึงทำให้การทิ้งลูกไว้กับมือถือเป็นเวลานานอาจจะได้ของแถมเป็นออทิสติกเทียม ซึ่งจะมีอาการหลักๆได้แก่ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เรียกแล้วไม่ตอบสนอง ตอบสนองช้า ต้องเรียกหลายครั้ง มีปัญหาในการสื่อสารกับคนอื่นครับ ซึ่งหากบุตรหลานของใครเกิดมีอาการแบบนี้ขึ้นมาละก็ จะต้องเสียเวลารักษาโดยการบำบัดนานมาก โดยครอบครัวจะต้องหาเวลามาคุยกับลูกบ่อยๆ ในบางรายถึงขั้นต้องหยุดงานเพื่อมาให้เวลากับลูกๆโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นผ่านการพูดคุย หรือผ่านการเล่นของเล่นต่างๆที่ต้องใช้ปฏิสัมพันธ์กัน เช่น การเล่นบทบาทสมมุติ  การเล่นทายคำ หรือของเล่นที่ช่วยเหลือกันเช่น ตัวต่อปริศนาอย่างง่าย ตัวต่อเลโก้ เป็นต้น

เอาล่ะครับพอรู้ความอันตรายแอบแฝงขนาดนี้แล้ว ก็ขอให้ผู้ปกครองทุกท่านดูแลควบคุมเวลาในการเล่นมือถือ แท็บเล็ท ของเด็กๆด้วยนะครับ เพื่อให้เด็กๆได้มีเวลาไปเล่นกับเพื่อนๆ โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมที่เด็กๆจะมีเวลาว่างเยอะก็อาจจะใช้โอกาสนี้ในการส่งเสริมความชอบของเด็กๆโดยการพาไปเรียนสถาบันสอนทักษะต่างๆ ได้นะครับ และสำหรับผู้ปกครองท่านใดที่เห็นแววของลูกๆว่ามีใจให้ด้านวิทยาศาสตร์ ชอบคิด ชอบประดิษฐ์อะไรใหม่ๆแล้วละก็ พี่เรส ก็ขอเสนอ คอร์สเรียนพิเศษสอนต่อหุ่นยนต์ช่วงปิดเทอม จากสถาบันสอนต่อหุ่นยนต์เรสจีเนียสสคูลเลยครับผม  เพราะนอกจากจะใช้เลโก้ รุ่น mindstorm เป็นสื่อในการเรียนรู้ที่ทำให้ง่ายต่อการเล่นไปเรียนไปแล้ว ยังแถมด้วยคุณครูผู้ดูแลคอยแนะนำการต่ออีกด้วย และที่ขาดไม่ได้เลยคือ มีเพื่อนๆวัยเดียวกันพร้อมจะนำหุ่นยนต์มาเล่นด้วยกันหลังต่อเสร็จอีกต่างหาก

มาที่เดียวได้ทั้งทักษะ ได้ทั้งเล่นแบบนี้ หากสนใจสามารถติดต่อทดลองเรียนฟรีได้ที่ช่องทางด้านล่างเลยครับ

https://www.facebook.com/RaiseGenius/

 

Data retrieve from : https://th.theasianparent.com

Data retrieve from : https://watermark.silverchair.com-

Data retrieve from : https://www.nidcd.nih.gov/health/speech-and-language

 

 

 

 

About The Author

num raise
การพัฒนาทักษะ เชิงนามธรรมพัฒนาเด็ก ด้วยของเล่นที่เหมาะกับวัย