fbpx

การพัฒนาทักษะ เชิงนามธรรม

การพัฒนาทักษะ เชิงนามธรรม

การพัฒนาทักษะ เชิงนามธรรม

A+4= 6  แล้วA=?

เปิดมาก็เป็นคำถามที่น้องบางคนอาจจะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างใช่ไหมล่ะครับ

ตอนแรกมองดูเผินๆก็เหมือนมันจะเป็นเรื่องยากเกินไปในการหาคำตอบ แต่ทว่า หากเราลองถามกันดูจริงๆแล้ว น้องๆมักจะตอบไม่ได้ ถึงแม้จะรู้ว่า 4+2=6 ก็ตาม

แล้วมันเกิดอะไรขึ้นนะ? ทั้งๆที่เด็กๆหลายคนมีศักยภาพพอจะบวกเลขได้ แต่กลับแก้สมการนี้ไม่ได้

คำตอบคือ เด็กๆขาดความสามารถในการคิดเชิง นามธรรมครับ

 

การพัฒนาทักษะ เชิงนามธรรม

pupil

เคยสงสัยไหมครับ ว่าทำไม แบบฝึกหัด ตอนเรายังอยู่อนุบาล ถึงมักชอบมีรูปประกอบ

เช่น 2+2 ก็ต้องเอาภาพ ส้ม 2 ลูก + ส้ม 2 ลูก มาเป็นโจทย์

สำหรับผู้ใหญ่แล้ว จะมีส้มหรือไม่ก็ไม่ต่างอะไร เพราะใจความสำคัญอยู่ที่เลข2

แต่สำหรับเด็ก มันเป็นคนละเรื่องกันเลยครับ เพราะ เด็กๆมีข้อจำกัดทางความคิดหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ การคิดเชิงนามธรรมครับ ดังนั้นการสอนจึงมุ่งเน้นให้ใช้สิ่งที่ “มองเห็นได้” ให้เด็กๆเรียนรู้ ก็จะสามารถเรียนรู้ได้ง่ายกว่า เนื่องด้วยสมองสามารถรับรู้ได้ง่ายกว่านั่นเอง (เปรียบเสมือนการกินอาหารที่ย่อยง่าย เหมาะแก่วัย ทำให้ได้สารอาหารมากกว่า)

และแน่นอนนั่นทำให้การคิดสมการ แทนตัวเลข หรือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงนั้น เป็นเรื่องเกินความสามารถของเด็กๆที่จะได้รับการพัฒนาเมื่อถึงช่วงวัย11ปีขึ้นไป*ครับ

ทว่า ภายใต้ข้อจำกัดเหล่านั้น ก็ยังมีวิธีการพัฒนาทักษะ ที่ทำให้เด็กๆสามารถเรียนรู้ เชิงตรรกะได้ นั่นก็คือ การเล่นของเล่น ที่จำเป็นเล่นเป็นขั้นตอน มีการใช้ความคิด วางแผน นั่นเองครับ เพราะเมื่อสมองคุ้นชินกับการคิด แบบการแทนที่ในใจ นั่นย่อมทำให้ เมื่อถึงเวลาต้องปรับตัว เรียนรู้เรื่องเชิงนามธรรม ก็จะสามารถเรียนรู้ ได้เร็วกว่าเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน ทำให้การเรียนรู้ เป็นไปได้อย่างไหลลื่น  ซึ่งของเล่น ที่ส่งเสริมทักษะดังกล่าว มีหลายอย่าง เช่น บอร์ดเกม เกมการ์ด ของเล่นปริศนา ตัวต่อ จิ๊กซอว์  และ เลโก้ครับ โดยเฉพาะ Lego Mindstrom ที่มีระบบการเขียนโปรแกรม ที่แสนจะง่าย ทำให้น้องๆสามารถฝึกเขียน สิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นตรรกะ และสังเกตเห็นผลการเขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง จนแม้แต่น้องๆอายุ 7 ขวบก็ยังเขียนได้

สำหรับใครที่สนใจ อยากจะพัฒนาทักษะการคิดเตรียมความพร้อมก่อนใคร ในการเรียนรู้แล้วละก็ สามารถมาทดลองต่อเลโก้ฟรี ไปพร้อมๆกันกับพี่เรส ได้ที่ช่องติดต่อด้านล่างนี้เลยนะครับ

https://www.facebook.com/RaiseGenius/

 

*อ้างอิงจากทฤษฎีขั้นพัฒนาการทางความคิดของ เพียเจต์

 

Data retrieve  from: https://www.simplypsychology.org/piaget.html

Pic retrieve from: https://www.flickr.com/photos/wecometolearn/8066863117/in/photolist-dhQMmR-abhAPy-nm8dXj-8yksB8-5p1N5a-9C7ADt-5J7gd6-8yktgg-9tJFHS-eaxWCe-awpwKv-6dBhv9-amhFdK-abhDSu-6Jzq5p-7vFzqf-ee7Ckw-7s9gGN-5Eijbv-ovo8jF-9H2eGw-6tNwfa-9H2ffU-8Siazd-cyXWLJ-hN1djZ-abhxFQ-624Nbn-qs3Qhc-aEM4tF-4fUpQG-8DVCji-eg9boQ-dJGQMg-rr5ytW-o45FHc-aEQQaY-q6yQEh-fdnZa4-BKwaAM-anuKGE-rdwuAp-6gVyZm-qEicKc-abhCGU-6uBJTY-QBJys-5EnBL9-5Fv9Dc-7ChASf

About The Author

num raise
มารู้จักกับ EF ทักษะสำคัญที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจการฝึกภาษาที่ ที่ไม่ควรทำ